“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
คลินิกหมอครอบครัว อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ดูแลผู้ป่วยโรคเอ็นซีดีในพื้นที่ ประชาชนมีความพึงพอใจการให้บริการมากกว่าร้อยละ 95
นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดคลินิกหมอครอบครัวหนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ว่าอำเภอนางรองได้พัฒนาระบบบริการด้วยคลินิกหมอ ครอบครัว เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ คลินิกหมอครอบครัวบ้านผักหวาน คลินิก หมอครอบครัวหนองตาหมู่ คลินิกหมอครอบครัวนางรอง ดูแลประชากร 34,612 คน และในปีงบประมาณ 2561 ได้เปิดคลินิกหมอครอบครัวหนองโบสถ์เพิ่มขึ้นเป็นแห่งที่ 4 ประกอบด้วย รพ.สต.หนองยางและรพ.สต.หนองทองลิ่ม ดูแลประชากร 8,092 คน โดยทุกแห่งได้พัฒนาระบบบริการ ตามมาตรฐานเชื่อมโยงกับโรงพยาบาล นางรองซึ่งเป็นแม่ข่าย ดูแลรักษาแบบผสมผสาน ทุกกลุ่มวัย ด้วยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ นางรองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ทุกครอบครัวมีทีมหมอครอบครัวเป็นที่ปรึกษายามเจ็บป่วย และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในพื้นที่ด้วยหลักการทำงาน บริการทุกคน ทุกอย่าง ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี ส่งผลให้ เข้าถึงบริการ ลดความแออัด ลดการรอคอยการรักษา
ผลการดำเนินงาน ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้รับบริการเพิ่มขึ้นในคลินิกหมอครอบครัว 3 แห่ง 5,497 คน จำนวน 17,389 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เอ็นซีดี) เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับบริการ ที่คลินิกหมอครอบครัวร้อยละ 61 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 51 ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 43 สามารถลดความแออัดในโรงพยาบาล ส่งผลให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงถึง ร้อยละ 95
ในด้านการจัดบริการเชิงรุก มีทีมหมอครอบครัวลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยและบริการทำหัตถการให้กับผู้ป่วยที่บ้าน การดูแลระยะสุดท้าย มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานดูแลต่อเนื่องโดยประสานกับศูนย์ดูแลต่อเนื่องของโรงพยาบาลนางรอง สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังมีบริการส่งเสริมสุขภาพควบคุมป้องกันโรคตามกลุ่มวัย เช่น การดูแลพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี ค้นพบเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 14 ติดตามกระตุ้นพัฒนาการได้ ร้อยละ 96 คัดกรองความดันโลหิตสูงพบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 43 สงสัยรายใหม่ร้อยละ 20 เบาหวานพบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 21 สงสัยรายใหม่ร้อยละ 5 พบภาวะลงพุงร้อยละ 54 การคัดกรองผู้สูงอายุ พบปัญหาทางสายตาและส่งพบแพทย์ร้อยละ 16
*************************** 19 พฤษภาคม 2561