“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ใช้แอพพลิเคชั่นบันทึกข้อมูลคัดกรองค้นหารอยโรคมะเร็งช่องปากระยะแรก โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม.ที่ผ่านการอบรม ใช้งานง่าย พบผู้ป่วยตั้งแต่ระยะแรก รักษาเร็ว
ทันตแพทย์หญิงกานต์สุดา อินทจักร์ ทันตแพทย์ด้านเวชศาสตร์ช่องปาก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ให้สัมภาษณ์ว่า โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ร่วมกับศูนย์ทันตระหว่างประเทศ กรมอนามัย จัดทำโครงการคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปาก (Chaingrai Model) โดยใช้แอพพลิเคชั่น Oral Screen คัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปากเชิงรุก ให้ทันตบุคลากรในคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขที่ผ่านการฝึกอบรม เป็นผู้บันทึกข้อมูลการคัดกรองและส่งข้อมูลเพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์อย่างเป็นระบบ ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ช่วยค้นหาผู้ป่วยมะเร็งในช่องปากได้ตั้งแต่ในระยะแรกได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครือข่ายจัดระบบการจัดการและส่งต่อข้อมูล ซึ่งสามารถพิมพ์ใบนัดแพทย์ได้จากโรงพยาบาลชุมชนทันที
“จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 พบว่ารอยโรคก่อนมะเร็งชนิด Leukoplakia และ Erythroplakia จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่รุนแรงขึ้นสัมพันธ์กับระยะเวลา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ผู้ป่วยไม่มีความพิการ สามารถบดเคี้ยวและพูดออกเสียงได้อย่างปกติ ส่วนการพบรอยโรคมะเร็งช่องปากระยะ 1 หรือ 2 พบว่าผู้ป่วยยังคงมีชีวิตอยู่หลังจากตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาได้มากกว่า 5 ปีถึงร้อยละ 80” ทพญ.กานต์สุดา กล่าว
ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงที่เกิดมะเร็งช่องปากคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุ ผู้สูบบุหรี่ กินหมาก โดยรอยโรคมะเร็งช่องปาก ที่สังเกตเห็นได้ง่าย ได้แก่ รอยขาว รอยแดง หรือรอยขาวร่วมกับรอยแดงบริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน ลิ้น ริมฝีปากด้านในและด้านนอก อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ แต่ไม่สามารถหายได้ภายในสองสัปดาห์ รอยโรคมะเร็งช่องปากพบได้เหมือนรอยโรคก่อนมะเร็งแต่อาจมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น พบลักษณะเป็นแผล บวม เป็นก้อน ที่ขยายขนาดเร็ว ร่วมกับการมีต่อมน้ำเหลืองโต หรือฟันข้างเคียงโยก โดยที่ไม่พบสาเหตุการติดเชื้อจากฟัน ซึ่งการตรวจหารอยโรคมะเร็งช่องปากโดยทันตบุคลากร รวมถึงตัวผู้ป่วย ช่วยลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ครอบครัวผู้ป่วย รวมถึงมีต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาที่ล่วงเลยมาถึงระยะสุดท้าย
**************************************** 16 กันยายน 2561