“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 09.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารพักคนไข้ 10 ชั้นโรงพยาบาลเลยตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยมีนายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุลรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลย ข้าราชการและประชาชน เฝ้ารับเสด็จฯ
โรงพยาบาลเลย ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2496 เริ่มจากอาคารเรือนคนไข้ทรงปั้นหยา ขนาด 24 เตียง ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 402 เตียง มีบุคลากรทั้งสิ้น 1,313 คน มีแพทย์ให้บริการครบทุกสาขาหลักและสาขารองบางสาขา โดยเปิดหน่วยบริการพิเศษได้แก่ หน่วยไตเทียมเฉลิมพระเกียรติ หน่วยบริการโรคหลอดเลือดสมอง หน่วยบริการเคมีบำบัด หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการตรวจรักษาผู้ป่วย ได้แก่ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)กล้องส่องตรวจทางเดินอาหาร (Endoscope) เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น มีผู้ป่วยมารับบริการเฉลี่ยประมาณวันละ 1,584 ราย ผู้ป่วยในเฉลี่ยวันละ 496 ราย มีอัตราครองเตียงร้อยละ 122.44 ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการมากกว่าจำนวนเตียงที่มีอยู่ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความแออัดในทุกพื้นที่ที่ให้บริการ
ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายแพทย์ชุมนุม วิทยานันท์ และนายมนตรี ผิวกลม ลูกศิษย์หลวงพ่อสายทอง ได้กราบขอให้หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ช่วยจัดหาทุนก่อสร้างอาคารพักคนไข้และห้องผ่าตัด หลวงพ่อสายทองเห็นว่าโรงพยาบาลเลย มีอาคารให้บริการไม่เพียงพอต่อผู้รับบริการ ด้วยความเมตตาหลวงพ่อสายทองจึงจัดหาทุนบริจาค 300 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารที่พักคนไข้ 10 ชั้น พร้อมครุภัณฑ์ประกอบอาคารอาทิ เตียงผู้ป่วยไอซียูปรับด้วยไฟฟ้า เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพระบบรวมศูนย์ เตียงผ่าตัดทั่วไประบบไฟฟ้าพร้อมรีโมทคอนโทล โคมไฟผ่าตัดใหญ่โคมคู่ เครื่องดมยาสลบ เครื่องจี้ห้ามเลือดด้วยไฟฟ้า เป็นตัน
สำหรับอาคารผู้ป่วย 10 ชั้น ประกอบด้วยชั้นที่ 1 แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ชั้นที่ 2 และ3 ห้องผ่าตัดจำนวน 10 ห้อง ชั้นที่ 4 หอผู้ป่วยหนัก ชั้นที่ 5-8 หอผู้ป่วยสามัญ รวม 96 เตียง ชั้นที่ 9 หอผู้ป่วยสามัญสงฆ์ ชั้น 10 หอผู้ป่วยพิเศษสงฆ์ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2564 และทำให้การจัดพื้นที่หน่วยบริการเป็นสัดส่วน ลดความแออัดในพื้นที่ให้บริการได้
******************************************** 20 กุมภาพันธ์ 2562