“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 98 View
- อ่านต่อ
สธ.แจงยอดผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้น มาจากกลุ่มก้อนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 42 ราย มีอาการป่วยระหว่างถูกกักขังที่ด่านสะเดา จ.สงขลา ก่อนนำเข้าสู่ระบบรักษาให้หายขาด เพื่อรอผลักดันกลับประเทศ ย้ำมาตรการผ่อนคลายต้องดำเนินการบนความเสี่ยงต่ำ ประชาชนปลอดภัย ระบบการแพทย์รองรับได้ ชี้เป็นเรื่องยากหากจะรอผ่อนคลายมาตรการเมื่อผู้ป่วยเป็นศูนย์
บ่ายวันนี้ (25 เมษายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์การพบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 53 คนในวันนี้ ต้องแยกเป็น 2 กรณี คือ การพบผู้ป่วยติดเชื้อที่เข้าถึงการตรวจตามปกติ จำนวน 11 คน และอีกกลุ่มที่เป็นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองจำนวน 42 คน ประกอบด้วย เมียนมาร์ 34 คน, เวียดนาม 3 คน, มาเลเซีย 2 คน, เยเมน 1 คน, กัมพูชา 1 คน และจากประเทศอินเดีย 1 คน กลุ่มคนต่างด้าวเหล่านี้อยู่ระหว่างการควบคุมตัวในศูนย์กักขังผู้หลบหนีเข้าเมือง ของด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา พบว่าบางรายมีอาการคล้ายไข้หวัดจึงนำตัวไปตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด 19 จากนั้นขยายผลการตรวจ พบว่ามีการติดโควิด 19 เป็นกลุ่มก้อน จึงให้กักตัวเพื่อรักษาให้หายก่อนผลักดันกลับประเทศต่อไป พร้อมได้ประสานสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ให้มีมาตรการตรวจคัดกรองแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างกักขังอย่างเข้มงวดตามลำดับต่อไป
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า หากมีการผ่อนคลายมาตรการยังต้องเน้นให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรค รักษาอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น สอบสวนและติดตามผู้สัมผัส ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก คงรักษาระดับการเตรียมความพร้อมระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินและการจัดการกลุ่มเสี่ยง
ที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง นอกจากนี้ มาตรการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอื่นๆ ยังจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อไป เช่น มาตรการเหลื่อมเวลาเข้าทำงาน การทำงานจากบ้าน (Work from Home) การทำธุรกรรมออนไลน์ ค้าขายออนไลน์ อาจจะต้องยกระดับการใช้งานอย่างต่อเนื่องและพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อลดการรวมตัวทำกิจกรรมให้ได้มากที่สุด
“การที่จะกำจัดเชื้อโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทย คงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก มาตรการผ่อนคลายที่จะเกิดขึ้น จะต้องพยายามทำให้มีจำนวนผู้ป่วยในระดับต่ำ ดูแลให้ประชาชนปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ทำให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินไปได้ระดับหนึ่ง เป็นการใช้ชีวิตด้วยวิถีชีวิตที่มีเหตุมีผล ตามความเสี่ยง
ของแต่ละสถานการณ์” นพ.ธนรักษ์ กล่าว
******************************** 25 เมษายน 2563