กรมอนามัยแนะสุขอนามัยสำหรับ ‘คาเฟ่สัตว์เลี้ยง’ ให้ถูกใจเหล่าทาส
- กรมอนามัย
- 25 View
- อ่านต่อ
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายขับเคลื่อนโครงการ “อาหารเป็นยา” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้นำสมุนไพรที่มีในแต่ละท้องถิ่นมาใช้ประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม เป็นการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค โดยใช้องค์ความรู้ทางแพทย์แผนไทย และทางด้านวิทยาศาสตร์ในการเพิ่มความเชื่อมั่นในสมุนไพรไทยนำไปสู่การบริโภคอาหารเป็นยา ผลักดันครัวไทยสู่ครัวโลก มุ่งเน้นทำความเข้าใจต่อประชาชนทั้งในและต่างประเทศ และช่วยสร้างรายได้สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ
จากนโยบายดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการศึกษาวิจัยพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรัง เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกกันมาตั้งแต่โบราณ มีประวัติการปลูกมานับ 100 ปี และยังคงมีต้นพันธุ์ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ มีเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น คือ มีรสชาติที่เผ็ดร้อนกำลังดีมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเมล็ดเล็ก ฝักแน่น เหมาะกับการรับประทานสดและแห้ง จึงเป็นที่นิยมในร้านอาหารเป็นอย่างมากและมีการพบการกระจายตัวในการปลูกทั้งจังหวัดตรัง และในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง
ดร.สาธิต กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเทคโนโลยีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล ในการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ร่วมด้วยกับการศึกษาทางด้านองค์ประกอบสารเคมี เอกลักษณ์ทางเภสัชเวท ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งสามารถนำมาศึกษาความหลากหลายและการพัฒนาพันธุ์พืชพริกไทยที่มีคุณภาพ และสร้างเครื่องหมายทางพันธุกรรมของพืชสมุนไพรไทย เพื่อใช้ในการตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ ทั้งนี้การศึกษาวิจัยพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนจะเป็นโมเดลที่ใช้ในการพัฒนาพันธุ์สมุนไพรที่มีคุณค่าชนิดอื่นๆ ของประเทศ โดยใช้ข้อมูลและวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ร่วมกับการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ เพื่อนำมาศึกษาความหลากหลาย การตรวจระบุชนิด การจัดทำฐานข้อมูลจีโนม และเครื่องหมายทางพันธุกรรมของพืชสมุนไพรของประเทศไทย ร่วมกับการจำแนกพันธุ์ตามหลักการทางอนุกรมวิธานพืช ในการคัดเลือกพันธุ์ของพืชสมุนไพรที่เหมาะต่อการปลูกและขยายพันธุ์ ได้พืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ มีประโยชน์ทางการแพทย์ และพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พริกไทย (Piper nigrum L.) เป็นพืชในกลุ่มวงศ์ Piperaceae เป็นพืชจำพวกไม้เถาเลื้อยมีความสูงประมาณ 5-6 เมตร มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง มีรากส่วนที่อยู่ในดิน และรากฝอยออกตามข้อสำหรับการยึดเกาะ เป็นพืชที่มีอายุยืน ผลมีลักษณะเป็นช่อไม่มีก้านผล โดยพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของไทยมีความโดดเด่นไม่ด้อยกว่าพันธุ์พริกไทยนำเข้าของต่างประเทศ เช่น มีกลิ่นหอมไม่มีกลิ่นสาบ เมื่อทำพริกไทยแห้งรสเผ็ดร้อนไม่แทรกรสขม ผลกรอบไม่เหนียวเหมาะกับการทำอาหารและเป็นเครื่องยาในยาแผนไทย สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของพริกไทยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน (11.3 %) แป้ง (50 %) แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตานบี2 ไนอาซิน วิตามินซี น้ำมันหอมละเหย และสารอื่นๆ อีกมากมาย
“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ร่วมกับเครือข่ายทีมวิจัยที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้โมเดลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน นำมาศึกษาและจัดจำแนกความแตกต่างของชนิดและสายพันธุ์ โดยอาศัยหลักทางพฤกษอนุกรมวิธานร่วมกับการตรวจระบุชนิดด้วยเทคนิคทางพันธุกรรมในระดับโมเลกุล โดยการทำ Genome sequencing และ DNA barcode เพื่อบ่งบอกลักษณะเฉพาะของพันธุ์พืชแต่ละชนิด รวมถึงการจัดทำเป็นข้อมูลของพืชประจำถิ่น และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพริกไทยแต่ละพันธุ์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านสมุนไพรของประเทศ เพิ่มมูลค่าทางการค้า เพื่อตอบโจทย์ในการใช้ประโยชน์ และนำไปต่อยอดทางธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจต่อไป” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว