กรมอนามัยแนะสุขอนามัยสำหรับ ‘คาเฟ่สัตว์เลี้ยง’ ให้ถูกใจเหล่าทาส
- กรมอนามัย
- 18 View
- อ่านต่อ
โรคลมแดด (Heatstroke) เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมาก จนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทัน พบได้มากขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนจัด โดยผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุมีความสามารถในการปรับอุณหภูมิได้ลดลง ประกอบกับมักมีโรคประจำตัว หรือ
บางรายไม่สามารถดูแลตนเองได้
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปกติร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและสร้างความร้อนจากภายในตัวตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อนออกจากร่างกาย เช่น ทางลมหายใจ ทางปัสสาวะ ทางผิวหนังร่วมกับต่อมเหงื่อ เมื่ออยู่บริเวณที่มีอากาศร้อนจัดร่างกายจะระบายความร้อนได้ยาก
ทำให้เสียเหงื่อมากขึ้นและร่างกายขาดน้ำมากขึ้น หากไม่ได้รับน้ำทดแทนที่เพียงพอจะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง
อาจเกิดอาการ shock เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
นายแพทย์ณัฐพล สุทธิสุนทรินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติม เกณฑ์การวินิจฉัยอาการป่วยจากโรคลมแดด (Heatstroke) 1.ร่างกายมีอุณหภูมิสูง ตั้งแต่ 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป 2.มีอาการผิดปกติทางสมอง เช่น ภาวะสับสน เพ้อ เวียนศีรษะ ตอบสนองช้า หรือ ชัก 3.อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อน หรือ ออกกำลังกายหนัก วิธีการป้องกันโรคลมแดด
ในผู้สูงอายุ ดังนี้ 1.การหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ร่างกายมีความร้อนสูง 2. ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี 3. อยู่ในสถานที่ที่มีพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ 4. อาบน้ำเย็นบ่อยๆ 5.ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6.ลดการออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ญาติหรือผู้ดูแล ควรติดตามอาการของผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ต้องทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วที่สุด โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง ประคบตามข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ ใช้พัดลมพัดเพื่อระบายความร้อน และรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยทันที
*******************************************************************************
#กรมการแพทย์ #สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ #ผู้สูงอายุ #โรคลมแดด #heatstroke
ขอขอบคุณ
31 มีนาคม 2566