อย. ร่วม สสจ.นครปฐม และตำรวจ จับร้านยาลอบขายวัตถุออกฤทธิ์ เตือนโทษหนักทั้งปรับและจำคุก
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- 30 View
- อ่านต่อ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ โรงแรม ไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์อธิบดี กรมควบคุมโรค มอบหมายให้ นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี รักษาการนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค และผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก เป็นประธานการประชุมพัฒนาความร่วมมือการดูแลรักษาด้านเอชไอวี/เอดส์ ในพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศ (ไทย-กัมพูชา) โดยมี H.E. Dr. Tia Phalla Vice-Chair of the National AIDS Authority of Cambodia พร้อมด้วยผู้แทนจากประเทศกัมพูชา เข้าร่วมประชุม
นายแพทย์สุเมธ กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบันเอชไอวี/เอดส์ ยังเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสุขภาพที่สำคัญสำหรับแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากยังเข้าไม่ถึงระบบการดูแลรักษาและป้องกันเอชไอวี จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา เพื่อส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติ สามารถเข้าถึงการรักษาเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัส รวมถึงพัฒนาระบบบริการส่งต่อระหว่างประเทศ สำหรับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้บริการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ลดการเจ็บป่วย การเสียชีวิต และมีสุขภาพที่ดี รวมถึงลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี
H.E. Dr. Tia Phalla Vice-Chair of the National AIDS Authority of Cambodia กล่าวว่า กัมพูชาและไทย มีความร่วมมือด้านสาธารณสุขมายาวนาน โดยเฉพาะด้านเอชไอวี/เอดส์ การประชุมหารือในวันนี้ จะเป็นโอกาสอันดีที่ ทั้งสองประเทศจะได้พัฒนาความร่วมมือต่อเนื่อง ในการรักษาเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสสำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อยุติปัญหาเอดส์ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามเป้าหมายของประเทศ
ด้าน Dr. Sarath Chhim ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ AIDS Healthcare Foundation (AHF) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นการร่วมมือที่สำคัญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวกัมพูชาที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่ง AHF มีสำนักงานตั้งอยู่ทั้งในไทยและกัมพูชา สามารถเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ
นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้ตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นกลุ่มเปราะบางที่ถูกละเลยและเข้าไม่ถึงระบบหลักประกันสุขภาพ พร้อมหารือถึงแนวทางความเป็นไปได้ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ยั่งยืน โดยมีข้อเสนอและแผนในการดำเนินการร่วมกัน 2 ระดับ คือ ระดับพื้นที่ เช่น การทดลองรูปแบบการพัฒนาดูแลรักษาเอชไอวี และการส่งต่อระหว่างเมืองคู่มิตรแนวชายแดนไทยและกัมพูชา การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิร่วมกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน เพื่อขยายการเข้าถึงบริการที่สะดวกและมีประสิทธิภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ และระดับนโยบาย เช่น การจัดเวทีผู้นำระดับสูงระหว่างสองประเทศ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการดูแลรักษาเอชไอวีของแรงงานข้ามชาติร่วมกันแบบไร้พรมแดน การยกระดับความร่วมมือให้เป็นระดับภูมิภาคหรืออนุภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงยาต้านไวรัสของกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไร้สิทธิ ทั้งนี้ ที่ประชุมคาดหวังว่า การหารือรอบนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่รูปแบบระบบการดูแลสุขภาพด้านเอชไอวีระหว่างประเทศอย่างไร้รอยต่อในอนาคต
การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2566 โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศเข้าร่วมการประชุม ด้านประเทศไทย ประกอบด้วย กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ, กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค, กองด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว, กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ด่านศุลกากรอรัญประเทศ สระแก้ว), มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (AHF) ประเทศไทย, มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ มูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ส่วนหน่วยงานจากประเทศกัมพูชา ได้แก่ the National AIDS Authority (NAA), the National Center for HIV/AIDS, Dermatology and STD (NCHADS) มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (AHF) ประเทศกัมพูชา และ Health Action Coordinating Committee
*********************************************
ข้อมูลจาก : กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 27 เมษายน 2566