ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 14 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ติดตามการดำเนินงานของสำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย รองรับการให้บริการดูแลสุขภาพชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2566 ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียโดยจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว 30 เตียง ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ติดตามอาการ และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามที่พักต่างๆ ล่าสุดให้การดูแลสุขภาพชาวไทยมุสลิมแล้วกว่า 7 พันคน
วันนี้ (12 กรกฎาคม 2566) ที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหาร ประชุมหารือร่วมกับ สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย เพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้บริการดูแลสุขภาพชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2566 และหารือแผนการในอนาคต พร้อมตรวจเยี่ยมที่ทำการสำนักงานแพทย์ฯ ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ โดยจัดบริการตรวจสุขภาพก่อนการเดินทางไป จัดส่งหน่วยแพทย์พยาบาลไปให้การดูแลรักษาระหว่างการประกอบพิธี และติดตามดูแลสุขภาพหลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับปี 2566 นี้ มีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปร่วมประกอบพิธีประมาณ 1.2 หมื่นคน กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวม 42 คน โดยมีภารกิจสำคัญ คือ สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย (นครมักกะห์) จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราว ขนาด 30 เตียง หากเกินศักยภาพในการรักษาจะส่งต่อไปรักษายังโรงพยาบาลท้องถิ่น, จัดตั้งศูนย์ประสานงานประจำนครมาดีนะห์ บริการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพและติดตามอาการ และจัดตั้งหน่วยย่อยภาคสนาม ให้บริการปฐมพยาบาล บริการฉุกเฉิน และออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามที่พักต่างๆ โดยตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม -12 กรกฎาคม 2566 ให้บริการผู้ป่วยชาวไทยทั้งหมด 7,632 คน เป็นกลุ่มอายุ 51 -60 ปี มากที่สุด รองลงมา คือ 61-70 ปี แยกเป็น ผู้ป่วยนอก 7,332 คน ส่วนใหญ่มีอาการทางเดินหายใจ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยใน 241 คน ส่วนใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหอบ โรคหัวใจ และโรคไต มีผู้ป่วยได้รับการส่งต่อ 59 คน จากโรคหอบ ภาวะหายใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจฉับพลัน โรคไตวายเรื้อรัง และมีผู้เสียชีวิต 13 คน ส่วนใหญ่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจฉับพลัน โรคหอบ และมะเร็งระยะสุดท้าย
ทั้งนี้ ประเทศไทยและซาอุดีอาระเบียมีการจัดทำร่างแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี ครอบคลุมความร่วมมือ 3 ด้านหลัก คือ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม โดยความร่วมมือด้านสาธารณสุขอยู่ภายใต้ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบที่จะส่งเสริมความมั่นคงทางสุขภาพการแลกเปลี่ยนความรู้และการปฏิบัติที่ดี และให้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในสาขากำลังคนทางการแพทย์ การวิจัยทางการแพทย์ และการพัฒนายาและวัคซีน โดยในเดือนมีนาคม 2565 ซาอุดีอาระเบียได้มาศึกษาดูงานด้านการพัฒนากำลังคนด้านการพยาบาลและการควบคุมโรคของไทย โดยเฉพาะการตอบโต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 รวมทั้งการฉีดวัคซีนโควิด 19 และในเดือนธันวาคม 2565 ได้มาศึกษาดูงานด้านพัฒนากำลังคนด้านการพยาบาลของไทยอีกครั้ง
*************************************** 12 กรกฎาคม 2566