กรมวิทย์ฯ มอบรางวัลและปิดงานมหกรรม DMSc R2R Forum 2023 : R2R to Health for Wealth

วันนี้ (26กรกฎาคม 2566) ที่ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีปิดงานมหกรรม DMSc R2R  Forum 2023 : R2R to Health for Wealth พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง “R2R ทำยังไงให้ง่าย” และมอบรางวัลให้กับผู้ที่ชนะเลิศการนำเสนอผลงาน โดยมี เภสัชกรหญิง ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น หัวหน้าสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานเครือข่ายห้องปฏิบัติการ และผู้ร่วมนำเสนอผลงาน ร่วมพิธี ทั้ง Onsite และ Online 

นายแพทย์พิเชฐ กล่าวว่า ในปีนี้มีผู้ที่สนใจส่งผลงานประกวดประเภทการนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) จำนวนทั้งสิ้น 71 เรื่อง แบ่งเป็น ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ 13 เรื่อง ด้านคุ้มครองผู้บริโภค 19 เรื่อง ด้านชันสูตร 17 เรื่อง และด้านงานภารกิจสนับสนุน 22 เรื่อง ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน ได้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัล จำนวน 12 เรื่อง มีดังนี้

1.ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่  นายนาวิน ชุมแวงวาปี หน่วยงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับประเมินผลการตรวจติดตามภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายอิโณทัย ดำรงวุฒิ หน่วยงาน โรงพยาบาลบ้านหมี่ เรื่อง นวัตกรรมการจัดการระบบเครื่องมือแพทย์มีความเสี่ยงสูง ในโรงพยาบาลบ้านหมี่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางเฉลิมวรรณ รุ่งเรืองกิจพัฒนา หน่วยงาน โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ เรื่อง เครื่องบันทึกเสียงหลายภาษา บอกขั้นตอนการถ่ายภาพทรวงอก 


2.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางจามรี ไตรจันทร์    หน่วยงาน โรงพยาบาลเขาชัยสน    เรื่อง การเสริมสร้างความเข็มแข็งการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยเครือข่ายบวร.ร ชุมชนวัดห้วยแตน รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวอนัญญา ยิ่งเจริญธนา    หน่วยงาน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพการจำแนกสิ่งแปลกปลอมและการจัดทำฐานข้อมูล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวชุลีพร จันทรเสนา หน่วยงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การลดต้นทุนการบรรจุวัตถุทดสอบแผนทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ การทดสอบสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้สดด้วยชุดทดสอบ


3.ด้านชันสูตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวจิตราภา  ยินดี     หน่วยงาน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การประเมินประสิทธิภาพเพื่อลดขั้นตอนในกระบวนการตรวจวินิจฉัยระบุชนิดแบคทีเรียด้วย matrix-assisted laser desorption and ionization time-of-flight mass spectrometry (MALDI-TOF MS) และการทดสอบความไวรับต่อยาต้านจุลชีพ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายชาคริต เชาวฤทธิ์    หน่วยงาน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง การประเมินประสิทธิภาพของ EE score ในการแยก β0-thalassemia/HbE และ Homozygous HbE จากข้อมูลย้อนหลัง 8 ปี เพื่อประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  ได้แก่ นายปรีชา ชาลีทำ    หน่วยงาน กลุ่มงานชันสูตรโรคกลาง โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร    เรื่อง HIV Alert 


4.ด้านงานภารกิจสนับสนุน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวพนิดา สมนันท์ หน่วยงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาก เรื่อง ผลการพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุในชุมชน: Seamless Care model รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางทับทรวง ยอดเมือง หน่วยงาน  โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง  โปรแกรม Smart TB DOT โดยการมีส่วนร่วมของ ผู้ป่วย โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวพรทิพย์ หลวงวิชา หน่วยงาน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบกระบวนการติดตามหนี้ค้างชำระเชิงรุก

“ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลและขอชื่นชมผู้ร่วมนำเสนอผลงานทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ผู้ร่วมงานได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และพัฒนาการทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ” นายแพทย์พิเชฐ กล่าว



   
   


View 388    26/07/2566   ข่าวในรั้ว สธ.    สำนักสารนิเทศ