วันนี้ (วันที่ 19 กันยายน 2566) พลอากาศเอกนายแพทย์สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ 904 และรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.) เป็นประธานการประชุม ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสุขภาพดีด้วยทฤษฎีเพื่อน (ตาย) ด้วยหลัก 10 อ (Thailand 10 for Health) ปี 2566 พร้อมด้วย นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชกาฟรจังหวัดอุดรธานี นายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นายแพทย์ไพศาล  จันทรพิทักษ์ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ โรงพยาบาลกรุงเทพ สายกิจกรรมพิเศษ พันเอก (พิเศษ)                ดร.นายแพทย์ประทิน นาคชื่น อายุรแพทย์โรคหัวใจ กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์ ประธานโครงการในพระราชดำริโครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ และผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี นายคณพศ พิมโคตร นายอำเภอน้ำโสม นายเชิดชัย เชื้อบัณฑิต สาธารณสุขอำเภอน้ำโสม แพทย์หญิงกัลยารัตน์ อินทบุญศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าโสม นางสุภาวรรณ ผุดมาก รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน จากโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 6 แห่งที่เข้าร่วมโครงการฯ  ได้แก่ 1) โรงเรียนบ้านท่าโสม 2) โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 3) โรงเรียนพัฒนาศรีผดุงอุดมวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี เขต 3 4) โรงเรียนหนองสำโรงวิทยา 5) โรงเรียนอนุบาลหนองวัวซอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และ 6) โรงเรียนทุ่งฝนวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี และภาคีเครือข่ายร่วมงาน

           พลอากาศเอกนายแพทย์สุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์ 904 และรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.) กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพด้านกีฬาและการออกกำลังกาย ทรงสืบสานพระราชปณิธานทรงเป็นแบบอย่างที่ดี มีพระราชจริยวัตรการออกกำลังพระวรกายอย่างสม่ำเสมอ จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนสมัครเป็นจิตอาสา เริ่มต้นจากการช่วยเหลือผู้อื่นทั้งแรงกายและแรงใจ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตใจดี “จิตอาสา” จึงเป็นแนวคิดตามแนวปฏิบัติเพื่อสุขภาพดีด้วยทฤษฎีเพื่อน (ตาย) ทั้งนี้ คำว่า เพื่อน (ตาย) จึงหมายถึง อวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ทำหน้าที่ทำงานให้ตัวเราอย่างไม่มีเงื่อนไข อวัยวะในร่างกายทุกส่วน รับใช้ช่วยเหลืออย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ตลอด 24 ชั่วโมง การมีสุขภาพดีแสดงถึงอวัยวะในร่างกาย ยังคงทำงานปกติอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลเพื่อน (ตาย) ให้เป็นปกติดีอย่างสม่ำเสมอ และได้ชื่นชมผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ในโครงการฯ ใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนสุขภาพดี  (THAILAND 10 FOR HEALTH FOR A STRONGER NATION)

              นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นายแพทย์ไพศาล จันทรพิทักษ์ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ สายกิจกรรมพิเศษ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการสุขภาพดีด้วยทฤษฎีเพื่อน (ตาย) ด้วยหลัก 10 อ ใช้โรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนาด้านการเรียนรู้และสุขภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรู้และทักษะด้านสุขภาพ ด้วยการใช้หลักการออกกำลังกายมาสอนผสมผสานให้แก่เด็กและเยาวชน เน้นการสริมสร้างให้ความรู้กับนักเรียน เปรียบเสมือนการให้วิทยายุทธ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่ประสบความสำเร็จจากโครงการ “FIFA 11 for Health” ในหลายประเทศมาแล้ว ทั้งในทวีปแอฟริกา ลาตินอเมริกา คาริบเบี้ยน เอเชียและโอเชียเนียร์

          ด้าน นางสุภาวรรณ ผุดมาก รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในโรงเรียนเป้าหมายสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมกระบวนการ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสุขภาพและทักษะการสร้างเสริมออกกำลังกายในโรงเรียนและมุ่งเป้าหมายขยายผลมากขึ้นในปีต่อๆไป

             ด้าน นายแพทย์กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์ ประธานโครงการในพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติและโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์  และผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่าตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี มีความรู้ นำไปสู่การปฏิบัติตนที่ดี เน้นกลุ่มเด็กเยาวชน อายุ 10 ปีขึ้นไป เข้าถึงการส่งเสริมสุขภาพอย่างสนุกสนาน มีความสุข และปลอดภัย จึงได้ขับเคลื่อนโครงการสุขภาพดีด้วยทฤษฎีเพื่อน (ตาย) ด้วยหลัก 10 อ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาพด้วยทักษะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise for Health : E4H) นำไปสู่การเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ (Lifestyle for Health : L4H)  ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการจัดการสุขภาพตนเองตามแนวทาง Lifestyle Medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิต ซึ่งการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว จะส่งผลให้เด็กมีความใส่ใจรักสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นวิถีปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

***

กรมอนามัย / 19 กันยายน 2566

 

 



   
   


View 227    19/09/2566   ข่าวในรั้ว สธ.    สำนักสารนิเทศ