ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 45 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์ “น้ำท่วม” ภาคใต้อย่างใกล้ชิด เผย แนวโน้มลดลงทั้ง 5 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตจากจมน้ำที่ยะลา 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ส่วนกลางสนับสนุนยาช่วยเหลือแล้ว 4,200 ชุด ย้ำเฝ้าระวังต่อเนื่อง 28-29 ธ.ค.นี้ วางแผนรองรับสถานการณ์ เตรียมยา เวชภัณฑ์ และทีมแพทย์พร้อมดูแล หลังน้ำท่วมให้เร่งฟื้นฟู รพ.- สภาพจิตใจประชาชน เฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ
วันนี้ (26 ธันวาคม 2566) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองสาธารณสุขฉุกเฉินถึงสถานการณ์วาตภัย อุทกภัย และดินโคลนถล่ม พื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 ธันวาคม 2566 พบว่า ยังคงมีสถานการณ์ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยแนวโน้มลดลงทุกจังหวัด มีประชาชนได้รับผลกระทบรวม 18,402 ครัวเรือน เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย จากการจมน้ำที่ จ.ยะลา และบาดเจ็บอีก 1 ราย ส่วนสถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบสะสม 12 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาล 2 แห่ง สาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9 แห่ง กระจายอยู่ในนราธิวาสและยะลา จังหวัดละ 6 แห่ง ในจำนวนนี้ยังคงปิดให้บริการ 10 แห่ง เบื้องต้นส่วนกลางสนับสนุนยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย 8 รายการ จำนวน 4,200 ชุด ทั้งนี้ ได้กำชับให้ทั้ง 5 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 28 - 29 ธันวาคมนี้ด้วย
“กระทรวงสาธารณสุข มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ใน 2 จังหวัด คือ ยะลา และนราธิวาส แล้ว ซึ่งเราพร้อมให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่ประสบอุทกภัยในมิติด้านสุขภาพอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วมด้วย” นพ.ชลน่านกล่าว
นพ.ชลน่านกล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการรับมือในเรื่องนี้ ได้ย้ำกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้บริหารสถานบริการทุกแห่ง ในช่วงก่อนหรือขณะเกิดเหตุอุทกภัย ให้ติดตามสถานการณ์ จัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ เตรียมทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ให้บริการระหว่างเกิดสถานการณ์ และจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ไว้ให้พร้อม ส่วนหลังอุทกภัยให้เร่งสำรวจประเมินความเสียหายของสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสถานพยาบาล
ที่ปิดบริการและเปิดบริการบางส่วน เฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากการเกิดน้ำท่วมขัง เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนังจากเชื้อรา และเฝ้าระวังฟื้นฟูด้านสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ เช่น อาการของโรคเครียดรุนแรง หรือโรค PTSD ความเครียดและวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
********************************************* 26 ธันวาคม 2566