รพ.กระบี่ ร่วมกิจกรรมคัดกรองตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ โครงการรณรงค์ผ่าตัดตาต้อกระจก ร่วมกับมูลนิธิพอ.สว. ประจำปี 2567 ณ รพ.ปลายพระยา จ.กระบี่
- โรงพยาบาลกระบี่
- 356 View
- อ่านต่อ
สำนักเลขานุการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยนายปัญญา จรรยาเพศ นักวิชาการเผยแพร่ นำเสนอสารคดีเชิงช่าว ในเวทีประชุมคณะกรรมการบริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ครั้งที่ 1/2567 โดยนายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประการประชุมฯ เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานภารกิจของหน่วยงาน และมอบแนวยโยบายการปฏิบัติงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ณ ห้องประชุมร่มฉัตร (ชั้น 2) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
สำหรับสาระการนำเสนอสารคดีเชิงข่าว นายปัญญา จรรยาเพศ นักวิชาการเผยแพร่ ตัวแทนสำนักเลขานุการและประชาสัมพันธ์ ได้นำเสนอในหัวข้อ “เขียนข่าวประชาสัมพันธ์อย่างไร...ให้มีประสิทธิภาพ” โดยได้กล่าวว่า ข่าวประชาสัมพันธ์ หรือ Press Release มีวิธีเขียนที่ง่าย และไม่สลับซับซ้อนเหมือนอย่างที่หลายๆ คนคิดกัน เพราะมันเป็นการเขียนเพื่อตอบโจทย์ 5W 1H ได้แก่ Who What Where When why และ How
“นี่คือองค์ประกอบของการเขียนข่าว ใคร (Who) ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว ทำอะไร (What) เกิดอะไรขึ้นหรือมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ อะไรเกิดขึ้น ที่ไหน (Where) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ (When) เกิดขึ้นเมื่อไหร่ วันไหน เวลาใด ทำไม (Why) ทำไมเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น อย่างไร (How) เกิดขึ้นได้อย่างไร และในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐ ส่วนใหญ่มักจะเป็นข่าวประเด็นเดียว (Single element story)”
โครงสร้างของข่าวจะประกอบด้วย ส่วนประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) พาดหัวข่าว (Headline) คือ การนำประเด็นสำคัญของข่าวมาพาดหัว เพื่อให้ผู้อ่านทราบประเด็นของข่าว พาดหัวข่าวมักจะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่กว่าธรรมดา และใช้เพียงข้อความสั้นๆ แต่อธิบายเนื้อข่าวได้มากที่สุด ซี่งตรงนี้ต้องใช้ทักษะในการเลือกถ้อยคำภาษาอย่างมาก และต้องเป็นคำที่ดึงดูดความสนใจด้วย ส่วนที่ 2) วรรคนำ หรือโปรย หรือภาษาข่าวเรียกว่า Leads ส่วนนี้ คือ สาระสำคัญของเนื้อหาข่าวที่เขียนโดยย่อ แต่ต้องอ่านแล้วความเข้าใจ เป็นส่วนที่เสนอประเด็นสำคัญของเรื่องราวไว้อย่างกระชับ ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย เป็นเนื้อหาส่วนแรกของเนื้อข่าว และเป็นส่วนที่จะใช้ดึงดูดหรือกระตุ้นความอยากรู้ อยากอ่าน และส่วนที่ 3) Body เนื้อข่าว ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่จะอธิบายหรือขยายรายละเอียดของส่วนประกอบดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องราว และเข้าใจลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ครอบคลุมองค์ประกอบ 5W 1H (คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร)
นอกจากการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ได้ออกมาดีแล้ว ยังมีขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การเผยแพร่ข่าวสารให้สาธารณะได้รับรู้ เทคนิคในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ควรจะส่งข่าวพร้อมรูปภาพประกอบ ให้ไปสื่อมวลชน นำไปเผยแพร่ เพื่อสร้างการรับรู้ในเชิงสาธารณะต่อไป เมื่อใดก็ตามที่ข่าวออกสู่สาธารณะเป็นที่เรียบร้อย ก็ถือว่า “ข่าวประชาสัมพันธ์” นั้น ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แล้ว จะอย่างไรก็ตาม ไม่ควรลืมช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ “แบบฟรี PR” เช่น เว็บไซต์ ThaiPR.net เว็บไซต์สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ สุดท้าย คือ การเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์ม Social Media ที่เป็นสื่อประเภท Own Media ของเรา เช่น Facebook Website YouTube Instagram TikTok และ Twitter
ทั้งหมดเป็นแทคนิคที่จะช่วยให้การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์โดนใจคนอ่าน และได้มาซึ่งการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน สำหรับคนทำงานประชาสัมพันธ์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำ คือ ต้องหมั่นฝึกฝน ติดตามข่าวสาร อ่านข่าวและดูตัวอย่างการเขียนจากสื่อต่าง ๆ สำคัญที่สุดคือ ต้องฝึกเขียนบ่อย ๆ เพื่อพัฒนางานเขียนข่าวให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/L21Z8CNTwMQjZmTk/?mibextid=qi2Omg
Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/XrwC8cbQozYwvn9U/?mibextid=A7sQZp
Facebook: โอเค-นครฯ
https://www.facebook.com/share/p/prTVrNv1aa56SwK6/?mibextid=qi2Omg
Facebook: นครพนมทูเดย์
https://www.facebook.com/share/p/6eF2N7PNosgFFuBa/?mibextid=A7sQZp