สืบเนื่องจากการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และการสาธารณสุข  (Emergency Operations Center, EOC) กรณีหมอกควันและฝุ่นละะอองขนาดเล็ก PM2.5 ครั้งที่ 1/2567 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ได้กำหนดให้มีการประชุมศูนย์ปฏิบ้ติการฯ เพื่อติดตามสถานการณ์ทุกวันจันทร์ ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา พบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีความเข้มข้นมากกว่า 75.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และคาดการณ์ว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จะมีความเข้มข้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ของทุกปี 

        วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม  เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operations Center, EOC) กรณีหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ครั้งที่้ 2/2567 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting จากห้องประชุมโรงพยาบาลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง ร่วมกับคณะผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมกลุ่มภารกิจที่ Active ประกอบด้วย กลุ่มงานยุทธศาสตร์ (STAG) กลุ่มตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) กลุ่มสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) และคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ทั้ง 12 อำเภอ เพื่อติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

        สำหรับวาระการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการในการยกระดับเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยการบัญชาการณ์เหตุการณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้ระบบการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เป็นฝ่ายสนับสนุข้อมูลการเกิดมลพิษทางอากาศ ข้อมูลการเกิดจุดความร้อน พร้อมสรุปข้อมูลและสถานการณ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ 

        ในส่วนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จะรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ ในช่วงสถานการณ์ที่ค่าฝุ่่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่ม เฟสบุ๊ค และสื่ออื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั่วจังหวัด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ ให้ประสานโรงพยาบาลในพื้นที่เปิดคลินิคมลพิษ เพื่อให้บริการประชานชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในช่วงสถานการณ์ที่ค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานติดต่อกัน 3 วัน (มากกว่า 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) เพื่อให้ประชาชนสามารถสอบถามและขอคำปรึกษาจากคลินิกมลพิษ หรือพบแพทย์หากมีอาการรุนแรง รวมทั้งจัดให้มีห้องปลอดฝุ่นในโรงพยาบาล สถานพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้เครือข่าย อสม.ในพื้นที่ทราบโดยทั่วกัน 

         ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีข้อสั่งการให้กล่องสื่อสารความเสี่ยงจัดทำคลิปวีดีโอประชาสัมพันธ์ ส่งให้พื้นที่อำเภอ ตำบล ได้สื่อสารให้ประชาชนรับทราบและปฏิบัติ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงที่ค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มากกว่า 75.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร์ : สีแดง) ให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งรายงานจำนวนผู้เข้ารับบริการด้วยโรคหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่น PM2.5 และจำนวนผู้ใช้บริการห้องปลอดฝุ่นทุกวัน ภายในเวลา 15.30 น.



   
   


View 99    08/03/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักสารนิเทศ