นพ.สสจ.กระบี่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร เขตสุขภาพที่ 11 ครั้งที่ 10 /2567
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่
- 13 View
- อ่านต่อ
วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมายนางวาสนา ศรีวะรมย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยนายนแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมนางสาวธิดารัตน์ เลี่ยวปรีชา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมต้อนรับพลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก พร้อมคณะฯ ในวาระเดินทางมาตรวจเยี่ยมติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ((นบ.ยส.24) และร่วมรับฟังการบรรยายสรุปการปฏิบัติงานของหน่วย โดยมีนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมคณะให้การต้อนรับ ณ หน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปราม ยาเสพติด สารตั้งตัน และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่ายพระยอดเมืองขวาง ตำบลกุรุคุ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คือ ประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข กำหนดปริมาณยาเสพติด-วัตถุออกฤทธิ์ ที่ให้สันนิษฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ.2567 กำหนดปริมาณยาบ้าไม่เกิน 5 หน่วยการใช้ หรือ 5 เม็ด หรือไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ซึ่งผู้ที่ครอบครองไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนดให้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการรักษา พร้อมให้เน้นมาตรการ CBTx หรือ Community Based Treatment คือ การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นกระบวนการบำบัดฟื้นฟูที่สามารถทำได้ในชุมชน ซึ่งสามารถคัดกรองผู้เสพแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ “ผู้ใช้” ใช้เป็นครั้งคราว “ผู้เสพ” มีแนวโน้มเสพบ่อยขึ้น และ “ผู้ติด” หมกมุ่นในการเสพ โดยผู้ใช้และผู้เสพให้การดูแลแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่วนผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ต้องส่งต่อสถานพยาบาล เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสมตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย
“ขอชื่นชมจังหวัดนครพนม ที่มีความโดดเด่นในเรื่องการบำบัดรักษา และการทำ CBTx ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความซับซ้อน และรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์แล้ว จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1) มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม 2) มินิธัญญารักษ์จังหวัด โรงพยาบาลโพนสวรรค์ และ 3) มินิธัญญารักษ์จังหวัด โรงพยาบาลนาหว้า และอีก 2 แห่ง ได้แก่ มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลศรีสงคราม จะเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2567 และมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลเรณูนคร จะเปิดให้บริการเดือนมิถุนายน 2567 ทั้งนี้ จะประสานผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4 เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการบำบัด และนำผู้ป่วยกลุ่มสีแดงเข้มให้หน่วยงานทหารร่วมดูแล” พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก กล่าว