วันที่9 เมษายน 2567 เวลา 09:40 น. ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำนักงานเขตสุขภาพที่1 เชียงใหม่   นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางมาเป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  และนายสุรชาติ เทียนทอง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข   เพื่อเปิดระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพกรณี PM2.5 “ One Region One Surveillance System”  เขตสุขภาพที่1 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ zoom meeting โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่1 และ ผู้บริหารเขตสุขภาพที่1  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป  โรงพยาบาลชุมชน และสาธารณสุขอำเภอ ทั้ง8 จังหวัด 

โดยโรงพยาบาลพะเยา มีนายแพทย์ธวัชชัย ปานทอง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยาเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยคณะทำงานตามระบบบัญชาการเหตุการณ์(ICS) ของรพ.พะเยา   โดย ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่1 ได้นำเสนอสถานการณ์และ ผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก  PM2.5 และการบูรณาการแพลตฟอร์ม dashboard  ระบบข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะPM2.5ในเขตสุขภาพที่1 ร่วมกัน3 หน่วยงาน ทั้งกระทรวงมหาดไทย  กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีสำนักงานป้องกันและควบคุมโรค(สคร.)และสสจ.ทุกจังหวัดทำงานร่วมกัน   ข้อมูลติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข  เช่น การมีห้องปลอดฝุ่นรายพื้นที่/หน่วยงาน   ข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพ การรับบริการของ4กลุ่มโรค โดยเฉพาะกลุ่ม COPD Exacerbation   ข้อมูลการเตรียมความพร้อมและผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากภาวะ PM2.5 และ ประเด็นท้าทายของสาธารณสุข คือการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเตรียมการโครงการระดับเขตสุขภาพเพื่อคัดกรอง CA Lung ในกลุ่มเสี่ยงที่(1)มีอายุมากกว่า50 ปี  (2)สูบบุหรี่มากกว่า30 แพ็คต่อปี  และ(3)อยู่ในพื้นที่นานกว่า20 ปีและมีญาติพี่น้องเป็น CA lung  โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ชื่นชม การดำเนินงานของทีมสุขภาพในพื้นที่เขตสุขภาพที่1 ที่ทำหน้าที่ในการจัดบริการ ค้นหากลุ่มเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อเสนอแนะให้นำเสนอข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพให้สาธารณชน สังคมโดยรวมรับทราบรวมถึงสร้างความตระหนักในการป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพ   เพื่อบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนอื่น   การเผยแพร่นวัตกรรมในการป้องกันฝุ่น ได้แก่ มุ้งปลอดฝุ่น เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ให้การสนับสนุนการจัดหา สำหรับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง  และหามาตรการในระยะยาวและต่อเนื่อง

ส่วน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ได้ให้ข้อเสนอแนะในการนำหลักระบาดวิทยามาเฝ้าระวัง และวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และค่า Hot spot  ในการเฝ้าระวังต้องมีaction ทั้ง เชิงนโยบาย  การเตรียมความพร้อมการดูแลรักษา  การป้องกันทั้ง primary /secondary / tertiary  prevention



   
   


View 24    09/04/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักสารนิเทศ