กรมอนามัยแนะสุขอนามัยสำหรับ ‘คาเฟ่สัตว์เลี้ยง’ ให้ถูกใจเหล่าทาส
- กรมอนามัย
- 8 View
- อ่านต่อ
จากกรณีข่าวที่พบการลักลอบเก็บสะสมกากแคดเมียมจำนวนมากในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ หากมีการจัดเก็บที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากกากแคดเมียมเป็นสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งแคดเมียมยังพบได้ในบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า
วันนี้ (10 เมษายน 2567) นายแพทย์นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า แคดเมียม (Cadmium) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่พบในธรรมชาติจากกระบวนการทางการเกษตร และในแหล่งอุตสาหกรรม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่ เชื่อมโลหะ โซลาร์เซลล์ หรือบริเวณที่เป็นเหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งมนุษย์สามารถได้รับพิษจากสารแคดเมียมได้จากการสูดดม และการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะพิษเฉียบพลันหลังการสูดดมไอแคดเมียม ทำให้มีไข้ ไอ หนาวสั่น หายใจเสียงวี๊ด เจ็บหน้าอก ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะปอดอักเสบและระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรือหากได้รับโดยการกินเกลือแคดเมียม ทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ในรายที่กินปริมาณมากอาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร ช็อก และไตวายได้ นอกจากนี้ หากได้รับสารแคดเมียมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานยังก่อให้ร่างกายได้รับพิษระยะยาวจะทำให้เกิดความผิดปกติที่ไต เช่น มีการรั่วของโปรตีน น้ำตาล แคลเซียมและฟอสเฟตทางปัสสาวะ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายเรื้อรัง อีกทั้ง ยังทำให้เกิดกระดูกคดงอ หักง่าย และมีอาการปวดรุนแรงที่รู้จักกันในชื่อโรคอิไต - อิไต รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งไต และ มะเร็งต่อมลูกหมาก อีกด้วย
นายแพทย์ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า การสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการสูดดมควันบุหรี่และไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายหรือที่เรียกว่า “การได้รับควันบุหรี่มือสอง” เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายได้รับพิษจากสารแคดเมียม โดยรายงานของต่างประเทศพบว่า การสูบบุหรี่จะทำให้ระดับของสารแคดเมียมในร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในบุหรี่และควันบุหรี่ รวมถึง บุหรี่ไฟฟ้า มีส่วนประกอบของสารแคดเมียม ดังนั้น การสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการสูดดมเอาควันบุหรี่และไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายได้รับสารแคดเมียมเข้าสู่ปอด ซึ่งจะถูกขนส่งโดยเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และนำไปสู่การเกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามมา จึงขอเตือนผู้สูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และประชาชนที่สูดดมควันบุหรี่และไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้า ควรลด ละ เลิก และป้องกันตนเองจากบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค โทร 0 2590 3850 “ร่วมกัน สร้าง สังคมไทยปลอดบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า”
********************************
ข้อมูลจาก : กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 10 เมษายน 2567
แหล่งข้อมูล
National Centre for Epidemiology and Population Health. (2023), Electronic cigarettes and health outcomes: umbrella and systematic review of the global evidence. Med J Aust, 218: 267-275. https://doi.org/10.5694/mja2.51890