สสจ.หนองคาย ร่วมกิจกรรม “สื่อมวลชนสัมพันธ์” ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย
- 18 View
- อ่านต่อ
ตามที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้มีหนังสือแจ้งเตือนประชาชน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำ ทำให้ "กรดซัลฟิวริก" ไหลลงสู่แม่น้ำคาน บริเวณแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ซึ่งระยะทางจุดเกิดเหตุห่างจากอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประมาณ 293 กิโลเมตร สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พบว่าสารเคมีจะเคลื่อนตัวผ่านเขื่อนไชยะบุรี วันที่ 5 เมษายน 2567 ซึ่งจะทำให้สารเคมีเจือจางลง จากนั้นจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย (จังหวัดเลย) ช่วงวันที่ 8 - 10 เมษายน 2567 และจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่า "จะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำโขงในประเทศไทย"
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้สั่งการให้สาธารณสุขอำเภอ ทั้ง 4 อำเภอ ที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขง ประกอบด้วย อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอธาตุพนม ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพของพี่น้องประชาชนอย่างใกล้ชิด จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากกรดซัลฟิวริก ทั้งจากพี่น้องชาว สปป.ลาว และชาวไทย
สำหรับรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังผลกระทบจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขงจากกรณีสารเคมีรั่วไหล (กรดซัลฟิวริก : Sulfuric Acid) ผลตรวจค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น.) จุดตรวจ กปภ.สาขาบ้านแพง ผลตรวจค่า pH 7.2 จุดตรวจ กปภ.สาขาท่าอุเทน ผลตรวจค่า pH 7.93 จุดตรวจ กปภ.สาขาเมืองนครพนม ผลตรวจค่า pH 7.90และจุดตรวจ กปภ.สาขาธาตุพนม ผลตรวจค่า pH 7.6 โดยภาพรวม ค่า pH ในน้ำอยู่ในช่วงปกติ สามารถใช้น้ำได้
“ขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงพี่น้องประชาชนที่สัญจร และประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง รวมทั้งผู้ที่อาศัยในพื้นที่ 4 อำเภอติดแม่น้ำโขง หากสัมผัสแหล่งน้ำแล้วมีอาการระคายเคือง ผิวหนังไหม้ ปวดแสบร้อน เกิดแผลพุพอง หรือตาพร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป"
อนึ่ง อันตรายของกรด-ด่างต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเกิดกับผิวหนัง ตาและระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบของกรด-ด่าง ต่อสุขภาพคล้ายคลึงกับผลจากความร้อน ผลจากการสัมผัสโดยตรงจะทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดการบวมแดง จนถึงกัดผิวหนังเป็นแผลเปื่อย พุพอง ในกรณีร้ายแรงจะเกิดแผลไหม้รุนแรง ทั้งนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพนี้จะขึ้นกับลักษณะสมบัติของกรด-ด่าง ความเข้มข้น ระยะเวลาที่สัมผัสด้วย
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/ESuoqoC8zRBjQnQa/?sfnsn=mo&mibextid=RUbZ1f
Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/MZWeGGgxqJHV4EL7/?sfnsn=mo&ref=share&mibextid=KtfwRi