วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 12.39 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมาย ดร.ศิริลักษณ์ ใจช่วง รักษาการนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมต้อนรับทีมตรวจเยี่ยมการดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน นำโดยนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์คัดกรองผู้ป่วยยาเสพติดตำบลบ้านกลาง และรับฟังการรายงานฐานข้อมูลผู้ป่วยสีเขียว เหลือง ส้ม แดง พื้นที่ตำบลบ้านกลาง (บ้านกลาง บ้านชะโนด บ้านดงติ้ว) เยี่ยมชมจุดคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติด พร้อมนำกลุ่มเสี่ยง และผู้มีประวัติใช้ยาเสพติดมาร่วมคัดกรอง ณ จุดตรวจปัสสาวะ จุดซักประวัติ และจุดแยกประเภทผู้ป่วย (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มใช้ กลุ่มเสพ กลุ่มติด) และแยกประเภทความรุนแรงของผู้ป่วย ด้วยแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (OAS) และ 5 สัญญาณเตือนอาการทางจิตกำเริบ (5 ธงแดง) เยี่ยมชมห้องบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด (ผู้ใช้กลุ่มสีเขียว) พร้อมรับชมการบูรณาการทีม 5 เสือ กรณีคลุ้มคลั่งอาละวาด การส่งต่อและติดตามดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด

        ดร.ศิริลักษณ์ ใจช่วง รักษาการนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนมได้บูรณาการขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดในชุมชน โดยภาคีเครือข่าย 5 เสือ ซึ่งจำแนกผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสีแดง มีอาการคลุ้มคลั่งพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง กลุ่มนี้ให้โรงพยาบาลเป็นผู้ดูแลในหอผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มสีส้ม มีอาการทางจิต ให้โรงพยาบาลมินิธัญญารักษ์เป็นผู้ดูแล กลุ่มสีเหลือง ผู้ป่วยยาเสพติดมีอาการทางจิต (ระยะอาการสงบ) ให้คลินิกบำบัดยาเสพติดใน รพ.ทุกแห่ง เป็นผู้ดูแล และกลุ่มสีเขียว ผู้ป่วยยาเสพติด ไม่มีอาการทางจิตเวช ใช้ระบบบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วม

        CBTx (Community Based Treatment) หรือที่เรียกกันว่า “ชุมชนล้อมรักษ์” คือ การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นกระบวนการบำบัดฟื้นฟูที่สามารถทำได้ในชุมชน ซึ่งสามารถคัดกรองผู้เสพแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ “ผู้ใช้” ใช้เป็นครั้งคราว “ผู้เสพ” มีแนวโน้มเสพบ่อยขึ้น และ “ผู้ติด” หมกมุ่นในการเสพ โดยผู้ใช้และผู้เสพ ให้การดูแลแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่วนผู้ติด มีปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ต้องส่งต่อสถานพยาบาล เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสมตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย

 


Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/hqcRLuGBuPiyfKDq/?mibextid=qi2Omg

Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/2ae3jA9pGBjePBXC/?mibextid=A7sQZp

 



   
   


View 109    22/04/2567   ข่าวรอบรั้วภูมิภาค    สำนักสารนิเทศ