สสจ.หนองคาย ร่วมกิจกรรม “สื่อมวลชนสัมพันธ์” ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย
- 18 View
- อ่านต่อ
วันพุธที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 09.39 น. ที่บริเวณหน้าห้องประชุมโรงนานคร ชั้น 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมายนายขันชัย ขันทะชา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดโครงการแผนงานความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน (Money Safety MOPH+) กระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ สร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับบุคลากรสาธารณสุข ด้วยแผนงานความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน (Money Safety MOPH+) 2 โครงการ เป้าหมายช่วยลดภาระดอกเบี้ยบ้านและสินเชื่อ พร้อมตั้งคลินิกสุขภาพทางการเงิน ช่วยประเมินการชำระหนี้และวางแผนทางการเงิน คิกออฟพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ติดต่อหน่วยงานต้นสังกัดหรือธนาคารออมสินทุกสาขา
อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินของบุคลากร โดยกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสร้างขวัญกำลังใจ ให้การช่วยเหลือบุคลากรกลุ่มที่มีปัญหาหนี้สินผ่านแคมเปญ “แผนงานความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน (Money Safety MOPH+)” ซึ่งมีการคิกออฟไปเมื่อ 8 ธันวาคม 2566 ล่าสุดมีความคืบหน้าผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การแก้ปัญหาหนี้เสีย (NPL) ได้ร่วมกับธนาคาแห่งประเทศไทย และธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพทยพาณิชย์ ช่วยเหลือด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครอบคลุมสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท 2) การให้บริการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำร่วมกับธนาคารออมสิน เพื่อช่วยแบ่งเบาความทุกข์ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ย สามารถนำเงินที่เหลือไปชำระหนี้ หรือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นในชีวิตได้มากขึ้น ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1.ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย และ 2.สินเชื่อสวัสดิการและอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นสินเชื่อรายได้ประจำปันสุข มุ่งเน้นแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่มีเฉลี่ยคนละประมาณ 200,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 0.7 ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระ 8 ปี
สำหรับการดำเนินงานระยะถัดไป กระทรวงสาธารณสุขมีแผนติดตามการแก้หนี้เสียของบุคลากรสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด เพื่อลดจำนวนหนี้เสียให้เป็นศูนย์ รวมทั้งขับเคลื่อนเรื่องวินัยทางการเงิน เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน ไม่เป็นหนี้เพิ่ม ตามเป้าหมายของนโยบายที่ต้องการให้บุคลากรสาธารณสุขหมดภาระ หมดข้อกังวล จะได้มีความสุข มีสภาพจิตใจที่พร้อมให้บริการประชาชน