สสจ.หนองคาย ร่วมกิจกรรม “สื่อมวลชนสัมพันธ์” ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย
- 18 View
- อ่านต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ เตรียมความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยนายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมายนายขันชัย ขันทะชา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ "นโยบายการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข" ณ ห้องประชุมเทพวรมุนี ศูนย์ประชุมสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
นายขันชัย ขันทะชา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า โรคติคต่ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious disease) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ให้คำนิยามโรคติดต่ออุบัติใหม่ เป็น 5 กลุ่ม คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ โรคติดต่ออุบัติซ้ำ โรคติดเชื้อดื้อยา โรคจากเหตุการณ์จงใจกระทำของมนุษย์ด้วยสารชีวภาพ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ ฝีดาษวานร พิษสุนัขบ้า และจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและภัยสุขภาพ ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติช้ำในประเทศได้
จังหวัคนครพนมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน และอำเภอธาตุพนม โดยมีช่องทางเข้าออกทั้งหมด 6 ช่องทาง ประกอบด้วย จุดผ่านแดนถาวร 2 แห่ง จุดผ่อนปรน 4 แห่ง มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดนครพนมในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 44,209 ราย เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 212 ราย และพบว่าจากสถิติปี 2566 มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 1,823 ราย ฝีดาษวานร 2 ราย และพิษสุนัขบ้า ที่พบการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในสัตว์ 3 ตัวอย่าง ในพื้นที่อำเกอเมืองและพื้นที่ติดชายแดนไทย
“จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จึงให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติช้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระบบและเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เพื่อให้สามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ โดยการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำจะมีประสิทธิภาพ ต้องใช้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ในการเสริมสร้างการปฏิบัติงานร่วมกัน ระหว่างสหสาขาวิชาของทุกภาคส่วนและทุกระดับ”
อนึ่ง การประชุมเชิงปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ เตรียมความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2567 ได้รับเกียรติวิทยากรบรรยายพิเศษ จากกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน และกองโรคติดต่อทั่วไป สำนักงานควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม และโรงพยาบาลนครพนม
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/sMRb1HPiFECT7rtt/?mibextid=qi2Omg
Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/SdFCDpA8td6KJZ7h/?mibextid=A7sQZp
Facebook: โอเค-นครฯ
https://www.facebook.com/share/p/taJRp4L9Aa1sQLLL/?mibextid=qi2Omg