ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 39 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย เขตสุขภาพที่ 9 จัดตั้งโรงเรียนเบาหวานวิทยา ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และเปิดคลินิกโรคเบาหวานระยะสงบ ในโรงพยาบาลทุกแห่ง ช่วยผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสงบของโรค ปรับลดยา หยุดยา งดยาบางตัว ได้เกือบร้อยละ 50 ประหยัดค่ายาได้กว่า7.28 ล้านบาท/ปี เตรียมขยายผลเข้าสู่ Service Plan กระทรวงสาธารณสุข ให้เกิดการขับเคลื่อนงานในทุกหน่วยบริการ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น 2.5 แสนคน ผู้ป่วยสะสม 3.5 ล้านคนมีค่ายารักษาเฉลี่ย 28,000 บาท/คน/ปี ซึ่งเป็นภาระด้านงบประมาณที่สูงมาก ทั้งนี้ การจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของเขตสุขภาพที่ 9 โดยจัดตั้งโรงเรียนเบาหวานวิทยา ที่มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และเปิดคลินิกโรคเบาหวานระยะสงบ (DM Remission) ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และรพ.สต. ทุกแห่ง พบว่าประสบผลสำเร็จอย่างดี ผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ระยะโรคสงบ ปรับลดยา หยุดยา งดยาบางตัว ได้เกือบร้อยละ 50 และยังช่วยลดภาระค่ายาได้ถึง 7,280,000 บาท/ ปี จึงมีแนวคิดที่จะขยายผลโรงเรียนเบาหวานวิทยาเข้าสู่ Service Plan ของกระทรวงสาธารณสุข มีตัวชี้วัดผลการจัดระบบบริการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ทุกหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
ด้าน นพ.ภูวเดช สุระโคตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 กล่าวว่า เขตสุขภาพที่ 9 มีการจัดตั้งโรงเรียนเบาหวานวิทยา ในจังหวัดนครราชสีมา ครบทุกตำบล ส่วนจังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จัดตั้งอำเภอละ 1 แห่ง รวม 162 แห่ง มีผู้ผ่านอบรมครู ก ครู ข 1,019 คน มีนักเรียนจบหลักสูตรแล้ว 3,050 คน เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2,592 คน ใช้หลักแนวคิดกระบวนทัศน์ใหม่ ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ฐาน ได้แก่ 1) การเรียนรู้ตนเอง/รับรู้ตนเอง การตรวจสุขภาพตนเองและการแปลผล (BODY Composition) 2) การรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน คำนวณคาร์โบไฮเดรท และวางแผนการกินต่อวัน 3) การออกแบบการปรับเปลี่ยนสุขภาพตนเอง โดยใช้หลักของอาหารพร่องแป้ง (Low Carb Diet) หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ (IF) 4) การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม และ 5) การเลือกเป้าหมายที่ชอบและเหมาะสมกับตัวเอง โดยให้สัญญาใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยหายหรือเข้าสู่ระยะโรคเบาหวานสงบ 260 คน (ร้อยละ 10.3) ปรับลดยา 719 คน (ร้อยละ 27.73) หยุดยา 217 คน (ร้อยละ 8.37) งดยาบางตัว 48 คน (ร้อยละ 1.85)
******************************************* 26 พฤษภาคม 2567