กรมอนามัยแนะสุขอนามัยสำหรับ ‘คาเฟ่สัตว์เลี้ยง’ ให้ถูกใจเหล่าทาส
- กรมอนามัย
- 2 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (7 มิถุนายน 2567) ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ “Medical Sciences Innovations: From Lab to Life นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จากแล็บสู่ชีวิต” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567 พร้อมทั้งมอบรางวัลผลงานวิชาการด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) และผลงานวิชาการด้านพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
นายแพทย์ยงยศ กล่าวว่า การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 32 ประสบความสำเร็จอย่างดี มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมประมาณ 1,600 คน โดยเป็นเวทีให้นักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายสุขภาพด้านต่างประเทศ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ นำเสนอนวัตกรรม ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัย ตลอดจนรับทราบความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์งานวิชาการให้มีความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข
นายแพทย์ยงยศ กล่าวต่ออีกว่า ได้จัดให้มีการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการ ทั้งแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ โดยมีผลงานวิชาการด้านวิจัยและพัฒนา จำนวน 245 เรื่อง ผลงานวิชาการด้านพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) จำนวน 160 เรื่อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 405 เรื่อง ซึ่งผลการตัดสินผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ 36 เรื่อง ดังนี้
ผลงานวิชาการด้านวิจัยและพัฒนา (R&D)
1. สาขาวิจัยและนวัตกรรมด้านโรค
1.1 นายอภิชัย ประชาสุภาพ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การสร้างเอ็มอาร์เอ็นเอดัดแปลงที่ทำหน้าที่ในการสร้างแอนติเจนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันวัณโรค
1.2 นางสาวมธุริน สีเสน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Tetravalent Nanoparticle-Based Dengue Vaccine Activated Strong Cellular Immune Response in Mice
1.3 นางสาวชิดกมล ทูลคำรักษ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาเซนเซอร์เชิงเคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจหาสารมัสคารีนในเห็ด เพื่อประกอบการวินิจฉัยภาวะอาหารเป็นพิษ
1.4 นางสาวสุดารัตน์ วงศ์กิดาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง The First DMSc induced Pluripotent Stem Cells Derived from Blood Stem Cells Using Non-Integrating Episomal Vectors
2. สาขาด้านวิจัยและนวัตกรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค
2.2 นายอคราพิชญ์ ศิริประภารัตน์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง Development and validation for analysis of 144 pesticides in vegetables & fruits by high resolution LC-QTOF/MS technique
2.3 นางสาวอังคนา ณรงค์ฤทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โลหะในน้ำด้วยเทคนิค ICP-MS
2.4 นายธรณิศวร์ ไชยมงคล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Development and validation of analysis method for ethylene oxide residues in noodle, cereal, grain and products by GC-MS
2.5 นายวรัญญู นาเชียงใต้ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณคีตามีนในปัสสาวะด้วยเทคนิค Online Solid Phase Extraction/Liquid Chromatography-Mass Spectrometry
2.6 นางสาวปรียานุช บุตรมี สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Method verification of the modified Lowry assay for determination of protein in medical gloves
3. สาขาการประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยสุขภาพ
3.1 นางพรยุพา เตียงพัฒนะวงษ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงาน แบบบรรยาย เรื่อง การพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ต้นไม้การตัดสินใจเพื่อทำนายการเกิดภาวะนิวโรเล็พติก มาลิกแนนท์ ซินโดรมในผู้ป่วยจิตเวช
3.2 นางสาวณัฐณิชา วันแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง Bioinformatics workflow for nanopore-based HLA class I analysis
3.3 นางสาวอรวรรณ เขียวกลม สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การประเมินผลกระทบความเข้มสนามแม่เหล็กของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดชาร์จไร้สายต่อการทำงานเครื่องมือแพทย์ประเภทฝังร่างกาย
3.4 นางสาวมัสตูรอ อาบู ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สระบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง คุณภาพทางจุลชีววิทยาของขนมกุยช่ายในจังหวัดนครนายก
3.5 นางสาวพีรารินทร์ ปรางค์สุวรรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Escherichia coli ที่แยกได้จากน้ำและอาหาร
4. สาขาการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางห้องปฏิบัติการด้านระบบคุณภาพและความปลอดภัย
4.1 นายไพรัตน์ จำบัวขาว โรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง ประสิทธิผลของการส่งเสริมการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างสมเหตุสมผลในโรงพยาบาลบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา
4.2 นางศิริเนตร เรืองหน่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวรอ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง ระบบบริการด้วยการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
4.3 นางสาวปิติกาญจน์ กาญจนาพฤกษ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การสังเคราะห์วัตถุดิบและการผลิตสารมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฮโรอีน
4.4 นางสาวกมลชนก แผ้วพลสง สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาต้นแบบตัวอย่างทดสอบความชำนาญด้านจุลชีววิทยาในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยใช้จุลินทรีย์รูปผงแห้ง
4.5 นางสาวนาตยา ศรีภัทราพันธุ์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง AI help you การใช้ AI ช่วยพัฒนากระบวนการค่าวิกฤตน้ำตาลปลายนิ้ว
ผลงานวิชาการด้านพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
1. สาขาระบบบริการห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ
1.1 นางสาวกัลยาณี ใฝบุญ โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการในหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
1.2 นางสาววรรณวิษา สุกคุ้ม โรงพยาบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ผลการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
1.3 นายสุรสิทธิ์ คุ้มสุวรรณ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการในหน่วยบริการปฐมภูมิท่ามกลางสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน
2.1 นางสาวพรทิพย์ คล้ายจันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาแก้ว ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Self Sampling ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับใช้แรงสนับสนุนทางสังคมในตำบลเขาแก้ว
2.2 นางสาวกาญจนา ศรีไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนา อสม.นักวิทย์ฯ ต้นแบบการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพในชุมชนยุคดิจิทัล
2.3 นางสาวละไม บุษบรรณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ไชยาโมเดล จากดินสู่ดาว ความสำเร็จการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อำเภอไชยา
3. สาขาการบริการและตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3.1 นางสาวชฎา ศาสตร์สุข โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่องการให้บริการตรวจ EGFR mutation ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิด NSCLC โรงพยาบาลพระปกเกล้า
3.3 นางศิโรรัตน์ ชูสกุล โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบการบริการทางเภสัชกรรมเพื่อการใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมในผู้ป่วยในที่มีภาวะไตบกพร่อง โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
3.4 นางสาววรรธนี สังข์หิรัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ห้องปฏิบัติการ พร้อมรับสถานการณ์ระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่ชายแดนใต้
4. สาขาด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์
4.1 นายนิพนธ์ คล้ายอ่อน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง เครื่องมือกำหนดระยะการวัดในการทำศัลยกรรมเลื่อนกระดูกขากรรไกร
4.2 นางพนอจิตต์ สุนทะโร โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบ การเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีเพื่อการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร
4.3 นายณรงค์ศักดิ์ เชยชิด มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง เว็บแอปพลิเคชันสำหรับคำนวณค่าปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยและรายงานค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไป
5. สาขาด้านบริหารจัดการและสนับสนุนบริการ
5.1 นางสาวชาลินี รักษาเคน โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาระบบคุณภาพ เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วโดยใช้เว็บแอพลิเคชัน
5.2 นายอิโณทัย ดำรงค์วุฒิ โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง นวัตกรรมโปรแกรมการจัดการโครงการลดความแออัดในโรงพยาบาลบ้านหมี่
5.5 นางสาวอรุโณทัย มนัสธรรมกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง นวัตกรรม “ระบบออกรายงานผลการตรวจคัดกรอง IEM โรคหายากในทารกแรกเกิด เขตสุขภาพที่ 10”