กรม สบส. ร่วม ตำรวจ ปคบ. บุกรวบหมอนวดเถื่อน ในร้านเสริมสวยย่านห้วยขวาง
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- 15 View
- อ่านต่อ
วันที่ 13 มิถุนายน 2567 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย, พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ, พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก, เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐนากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปคบ., สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลปฏิบัติการ กรณีกวาดล้างเครือข่ายนายทุนชาวเวียดนาม โฆษณาขายนมผง อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง จับกุมแรงงานต่างด้าว จำนวน 6 ราย พร้อมของกลาง จำนวน 41 รายการ รวมกว่า 20,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 18,000,000 บาท
พฤติการณ์กล่าวคือ ปัจจุบันค่านิยมผู้บริโภคได้สนใจสุขภาพมากขึ้น ผลิตภัณฑ์สุขภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพ จึงทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการลักลอบนำเข้า, ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอมที่ด้อยคุณภาพในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่อประมาณ เดือนพฤศจิกายน 2566 กองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีการมีการกวาดล้างเครือข่ายกลุ่มผู้กระทำความผิดชาวเวียดนามที่โฆษณาสรรพคุณนมผงเกินจริง และมีมาตรการในการเฝ้าระวังการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพในลักษณะเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เช่น การอวดอ้างสรรพคุณในการรักษาโรคและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ แอบอ้างใช้ภาพ-ชื่อบุคลากรทางการแพทย์ บุคคลที่มีชื่อเสียง นำมาตัดต่อ สร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สินค้า อ้างว่าผลิตภัณฑ์มีผลวิจัยจากต่างประเทศรองรับ ฯลฯ แล้วขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐาน โดยเมื่อผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง บางรายเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และไม่สามารถขอคืนเงินได้
ต่อมา กก.4 บก.ปคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก อย. จึงได้ทำการสืบสวนพบมีเว็บไซต์ที่มีการตัดต่อภาพ วิดีโอเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ และปรากฎมีการโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นวงกว้าง
มีเนื้อหาที่มีการบรรยายสรรพคุณผลิตภัณฑ์อาหารอันเป็นเท็จ จำนวน 11 เว็บไซต์ ได้แก่
จากการตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าว พบว่า มีการโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับผู้มีภาวะโรคที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ผู้สูงอายุ และเด็ก โดยโอ้อวดสรรพคุณนมที่เกินจริง เช่น เมื่อบริโภคผลิตภัณฑ์แล้ว ส่งผลให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับคงที่ กระตุ้นการทำงานของอินซูลิน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 26 เท่า เสริมสมรรถภาพทางเพศ โดยมีการกล่าวอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง จาก FDA (องค์การอาหารและยา) สหรัฐอเมริกา นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา และขายดีเป็นอันดับ 1 ในประเทศนิวซีแลนด์ฯลฯ
ซึ่งผลิตภัณฑ์นมผงยี่ห้อ ENZO SURE และกลุ่มผลิตภัณฑ์นมผงดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยาได้มีประกาศผ่านสื่อออนไลน์ ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโฆษณาสรรพคุณที่เกินจริง
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนจนทราบถึงแหล่งจัดเก็บ และกระจายสินค้า โดยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นำหมายค้นของศาลเข้าตรวจค้น โกดังเก็บสินค้า ในพื้นที่ ต.บางครุ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ตรวจยึดผลิตภัณฑ์อาหาร, ยา และบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ รวมจำนวน 41 รายการ จำนวนกว่า 20,000 ชิ้น โดยเป็นผลิตภัณฑ์นมผง ยี่ห้อต่าง ๆ 12,625 กระปุก, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก จำนวน 1,776 ชิ้น, วิตามินที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร 95 ชิ้น, ยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา จำนวน 3,660 ชิ้น รวมมูลค่ากว่า 18 ล้านบาท พร้อมจับกุมผู้ต้องหา สัญชาติลาว และสัญชาติ เมียนมา รวมจำนวน 6 ราย ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจยึดเป็นนมผงยี่ห้อต่าง ๆ และยา รวม 8 ยี่ห้อ ได้แก่
โดยขณะตรวจค้น พบชาวต่างชาติ ผู้ต้องหา สัญชาติ ลาว และเมียนมา รวม 6 ราย กำลังแพ็คบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อรอจำหน่าย เมื่อตรวจสอบหนังสือเดินทางพบมีเอกสารการเดินทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่มีใบอนุญาตการทำงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย ส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ดำเนินคดี
ในข้อหา “1. ร่วมกันจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง, 2. ร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต, 3. ร่วมกันขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา, 4. เป็นบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 5. เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน”
จากการสืบสวนขยายผลทราบว่า กลุ่มผู้กระทำผิดมีกลุ่มนายทุนชาวเวียดนาม โดยนำเข้าสินค้ามาจากประเทศเวียดนาม แล้วนำมาเก็บไว้ตามอาคารให้เช่าต่างๆ เพื่อรอการจำหน่าย โดยทำการกระจายโดยการเปิดเว็บไซต์เป็นจำนวนมากเพื่อโฆษณาจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อยู่ต่างประเทศ และหลบเลี่ยงการขายผ่านแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada โดยใช้วิธีการชำระเงินค่าสินค้าด้วยการเก็บเงินปลายทางเพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบ โดยจะโฆษณาสรรพคุณพร้อมกับเสนอโปรโมชั่นต่างๆ ให้ลูกค้ารีบตัดสินใจซื้อ เช่น ซื้อภายในเวลาโปรโมชั่น หรือซื้อครั้งละจำนวนมากๆ จะได้รับราคาที่ถูกกว่า เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ จะต้องกรอกข้อมูลชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ลงไปในเว็บไซต์ จากนั้นผู้ขายจะโทรศัพท์ติดต่อกลับมาเพื่อโน้มน้าวสรรพคุณ และให้ลูกค้าซื้อสินค้าปริมาณมากขึ้น อีกทั้งเมื่อได้รับผลิตภัณฑ์แล้ว ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะมีการติดตามสอบถามผลการใช้ผลิตภัณฑ์ และเสนอขายผลิตภัณฑ์ต่อไปอีกด้วย โดยขายกระปุกละ 1,090-1,190 บาท และมียอดขายเดือนละ 3,000 - 6,000 ออเดอร์
เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า กลุ่มเครือข่ายดังกล่าว จะส่งข้อมูลการสั่งซื้อ ให้ผู้ดูแลโกดังในประเทศไทย ทำการบรรจุ และส่งให้กับลูกค้า โดยกลุ่มเครือข่ายชาวเวียดนามจะสั่งการอยู่ต่างประเทศ และเดินทางมายังประเทศไทยเพียงเดือนละ 1 ครั้ง
ซึ่งกลุ่มนายทุนชาวเวียดนามมีการติดตามสื่อประชาสัมพันธ์ของไทยอยู่ตลอด โดยเมื่อมีการประชาสัมพันธ์เตือนภัยเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์นม ที่ไม่ผ่านการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ มีความเสี่ยง
ที่จะสืบสวนพบแหล่งเก็บและกระจายสินค้า จะย้ายแหล่งที่เก็บ และกระจายสินค้า เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจพบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เบื้องต้นการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐาน
ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ที่สืบสวนจนสามารถจับกุมผู้ค้าตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายได้จำนวนมากผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบในครั้งนี้เป็น ยา อาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ไม่มีฉลากภาษาไทย ลักลอบนำเข้า และพบการโฆษณาหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ไม่มีหลักฐาน หรือผลการทดสอบประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน จึงขอเตือนผู้บริโภคว่า ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อก่อนใช้ให้สังเกตุยาต้องมีเลขทะเบียนตำรับ สำหรับอาหารต้องมีเลขสารบบอาหารหรือเครื่องหมาย อย.และ อย.ขอย้ำไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมชนิดใดที่มีสรรพคุณบำบัด บรรเทา รักษาโรค ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จ โฆษณาเกินจริง ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. กล่าวว่า ปฏิบัติการดังกล่าว เป็นผลมาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศเตือนให้ระมัดระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์นมผง ที่ไม่มีเลข อย.
ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงได้รับอันตราย โดยหลังจากประกาศแล้ว ยังพบเห็นว่า ทางออนไลน์มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อยู่ จึงนำมาสู่การกวาดล้างแหล่งเก็บและกระจายสินค้า และขอฝากถึงพี่น้องประชาชนว่า ผลิตภัณฑ์อาหารนมผง จะต้องขออนุญาตเลขสารบบอาหาร จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ถูกต้อง
เพื่อเป็นหลักประกันเบื้องต้น ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีแหล่วงผลิตมาจากที่ใด มีมาตรฐานหรือไม่ มีส่วนประกอบ และการจัดทำฉลากตรงตามที่กำหนดหรือไม่ เมื่อออกสู่ท้องตลาด ผู้บริโภคจะได้ทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้อง
และมีความปลอดภัยจากการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้บริโภคที่มีภาวะของโรคเบาหวาน หรือ โรคอื่น
การจะรับประทานผลิตภัณฑ์ใด ต้องใส่ใจเป็นการเฉพาะ ซึ่งหากพบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาเกี่ยวกับการ
ส่งผลต่อร่างกายในด้านต่างๆ ควรดูให้ดีว่าผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานหรือไม่ ขอฝากไปถึง ผู้ที่ลักลอบจำหน่าย และ
ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา บก.ปคบ. จะดำเนินกวดขันจับกุมให้ถึงที่สุด โดยประชาชนทั่วไปหากพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา
“ผู้ต้องหาหรือจําเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคําพิพากษาถึงที่สุด”
************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว 13 มิถุนายน 2567 แถลงข่าว 31 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567