ปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
- สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8
- 2 View
- อ่านต่อ
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 10.09 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุม “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) จังหวัดนครพนม” เพื่อติดตามสถานการร์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ครั้งที่ 3/2567 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting จากห้องประขุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานในกำกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ทั้ง 12 อำเภอ
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) จังหวัดนครพนม ได้แจ้งข้อสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวคือ แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทราบล่วงหน้า และติดตามปริมาณน้ำฝนในทุกพื้นที่ เตรียมกำลังพล เครื่องมือ เครื่องจักรกล โดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนนราชการ พร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง กรณีสิ่งสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ได้รับผลกระทบต่อประชาชน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้อย่างปกติ พร้อมแจ้งให้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงประเมินสถานบริการที่อาจเสี่ยงได้รับผลกระทบ เน้นย้ำการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม อาทิ กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคที่มียุงเป็นพาหะ โรคติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคฉี่หนู โรคตาแดง และโรคไข้เลือดออก การเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุจมน้ำ ไฟฟ้าช็อต
ทั้งนี้ ได้มีการรายงานการดำเนินงานตามกลุ่มภารกิจของคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center : EOC) จังหวัดนครพนม รวม 12 กลุ่มภารกิจ ซึ่งจากการเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย จังหวัดนครพนม ประจำวันที่ 20 กันยายน 2567 พื้นที่เฝ้าระวังผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย 5 อำเภอ 14 ตำบล 33 หมู่บ้าน 74 หลังคาเรือน ประกอบด้วย อำเภอบ้านแพง 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน 5 หลังคาเรือน ศรีสงคราม 3 ตำบล 2 หมู่บ้าน 38 หลังคาเรือน นาหว้า 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน (เป็นพื้นที่ทางการเกษตร) ท่าอุเทน 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน 21 หลังคาเรือน เมืองนครพนม 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน 10 หลังคาเรือน โดยยังไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรงทางร่างกายและสุขภาพ
จังหวัดนครพนมได้เตรียมจัดตั้งศูนย์พักพิง 39 แห่ง รับได้ จำนวน 13,765 คน โดยจำแนกเป็นพื้นที่อำเภอนาทม จำนวน 6 แห่ง รับได้ 105 คน อำเภอบ้านแพง 2 แห่ง รับได้ 500 คน อำเภอศรีสงคราม 3 แห่ง รับได้ 600 คน อำเภอท่าอุเทน 4 แห่ง รับได้ 4,000 คน อำเภอนาหว้า 2 แห่ง รับได้ 400 คน อำเภอโพนสวรรค์ 2 แห่ง รับได้ 600 คน อำเภอปลาปาก 2 แห่ง รับได้ 260 คน อำเภอเมืองนครพนม 2 แห่ง รับได้ 2,500 คน อำเภอวังยาง 2 แห่ง รับได้ 400 คน อำเภอนาแก 1 แห่ง รับได้ 200 คน อำเภอเรณูนคร 2 แห่ง รับได้ 2,000 คน และอำเภอธาตุพนม 11 แห่ง ร้บได้ 2,200 คน
ในส่วนของการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ที่พบจากการรักษาสะสม พบป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 286 ราย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3 ราย อาหารเป็นพิษ 81 ราย เมลิออยโดซิส 8 ราย ไข้เลือดออก 42 ราย ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental Health Crisis Assessment and. Treatment Team: MCATT) ลงพื้นที่ดูแลประชาชนในพื้นที่ 4 อำเภอ อำเภอเมือง 22 ราย ท่าอุเทน 5 ราย บ้านแพง 22 ราย และศรีสงคราม 90 ราย รวม 130 ราย โดยได้ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ มอบถุงยังชีพ และยารักษาโรค ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมเยี่ยมเสริมพลังสำหรับผู้ป่วย ญาติและประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ การให้คำแนะนำการปฐมพยาบาลทางใจ รวมทั้งพูดคุยให้กำลังใจเพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวล ทั้งยังประสานทีม MCATT ในพื้นที่ติดตามดูแลหลังจากนี้ 2 สัปดาห์
อนึ่ง ในวันนี้ (ภาคบ่าย) นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมคณะทีมสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข สาขาจังหวัดนครพนม นำโดย ทพญ.วิภารัตน์ วรหาร ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม (ด้านทันกรรม) และคณะฯ ได้ปฏิบัติภารกิจลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเสริมพลัง มอบเครื่องอุปโภคบริโภค และยารักษาโรคแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ตำบลดงดิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/JVm3RDDzkHA7ziPX/?mibextid=qi2Omg
Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/zfmpM4e7f36aN5mj/?mibextid=A7sQZp