“TO BE NUMBER ONE IDOL จังหวัดมุกดาหาร ผ่านเข้ารอบ 26 คนสุดท้ายในการประกวด TO BE NUMBER ONE IDOL รุ่นที่ 15 ระดับประเทศ “
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
- 20 View
- อ่านต่อ
วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting “7 นโยบายกระทรวงสาธารณสุข 2568” เพื่อจัดทำ Dashboard สำหรับกำกับ ติตตาม การทำงานในทุกระดับ โดยนายแพทย์ประพนธ์ เครือเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 ปฏิบัติราชการแหนผู้อำนวยการสำนักงกงานเขตสุขภาพที่ 8 เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมกันเกรา สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 ซึ่งได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายยกระดับการสาธารณสุขไทย สุขภาพแข็งแรงทุกวัย เศรษฐกิจไทยมั่นคง โดยมีการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ เพิ่มการเข้าถึงบริการ เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและบำบัดยาเสพติด คนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน จัดระบบบริการสุขภาพเพื่อกลุ่มเปราะบางและพื้นที่พิเศษ พัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสุขภาพสู่ Medical & Wellness Hub และบริการจัดการทรัพยากรบุคลากรสาธารณสุข สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 จึงจัดประชุมเพื่อจัดทำ Dashboard สำหรับกำกับ ติตตาม การทำงานในทุกระดับ โดยให้แต่ละจังหวัดที่ได้รับมอบหมายนำเสนอข้อมูลในแต่ละนโยบาย ทั้งสถานการณ์การติดตามงานปัจจุบันและแนวทางการดำเนินงาน
สำหรับวาระการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอแนวทางการจัดทำ Dashboard เพื่อกำกับ ติดตาม ในแต่ละนโยบาย นโยบายยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่เพิ่มการเข้าถึงบริการ นโยบายเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและบำบัดยาเสพติด คนไทยห่างใกลโรคและภัยสุขภาพ สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสุขภาพภาพประชาชน จัดระบบริการสุขภาพเพื่อกลุ่มเปาะบางและพื้นที่พิเศษ พัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสุขภาพสู่ Medical & Wellness Hub การบริหารทรัพยากรสาธารณสุข และงานสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริโครงการเฉลิมพระเกียรติ
ในส่วนของระบบบริการสุขภาพ Service Plan สาขาสุขภาพจิตและสารเสพติด เขตสุขภาพที่ 8 ปี 2568 กำหนดประเด็นการขับเคลื่อน อาทิ การสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและสารเสพติด ค้นหาและดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย SMI-V เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการอย่างปลอดภัยและทันท่วงที พัฒนาระบบ รูปแบบและมาตรฐานการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยให้มีคุณภาพและเข้าถึงง่ายในทุกพื้นที่ เปิดโรงพยาบาลมินิธัญญารักษ์/ Home Ward ยาเสพติดทุกแห่ง สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน (ชุมชนล้อมรักษ์ CBTx) กลไกทางสังคมดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดแบบบูรณาการ การส่งต่อ (ไร้รอยต่อภายใน-นอกจังหวัด) และการดูแลผู้ผ่วยจิตเวชและสารเสพติด (Patient Journey) 2 ศูนย์ 2 สถาน ซึ่งสำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 ได้มีข้อสั่งการให้เกิดการดำเนินงาน 2 ศูนย์ 2 สถาน ในเขตสุขภาพที่ 8 ตาม Patient Journey ประสาน เชื่อมโยง ส่งต่อ บูรณาการระหว่างสาธารณสุข ตำรวจ มหาดไทย อปท. เพื่อดูแลผู้ป่วยยาเสพติดครวงจรใช้ฐานข้อมูลชุดเดียวกัน จำนวนเตียงไม่ปฏิเสธิการรักษา ขับเคลื่อนการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด ฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชสารเสพติด เพื่อใช้ติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจรภายใต้การบริหารภายในเขตสุขภาพที่ 8
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้นำเสนอการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและบำบัดยาเสพติด ซึ่ง Road Map สุขภาพจิตและสารเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรม Service Plan และประชุมคณะกรรมการ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 และในเดือนธันวาคมนี้จะดำเนินการชับเคลื่อนสร้างความตระหนักรู้ปัจจัยเสี่ยงอาการทางจิตกำเริบสำหรับประชาชน สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและสารเสพติด พร้อมดำเนินการมินิธัญญารักษ์ และ Home Ward สารเสพติดทุกแห่ง ประชุม Dashboard สารเสพติด ขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติด และสร้างกลไกทางสังคมดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดแบบบูรณาการในคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวยัดและระดับอำเภอ โดยจะมีการติดตามผลการดำเนินงานในเดือนมีนาคม 2568
ทั้งนี้ จังหวัดนครพนม ได้ปฏิบัติการ "Kick Off แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข” ซึ่งในการตรวจคัดกรองฯ เมื่อตรวจพบก็จะจัดเป็นกลุ่ม “สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว” ตามระดับอาการทางจิตเวช โดยมีมาตรการดูแลในพื้นที่ และระบบบริการดูแลบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (Patient Journey) ดำเนินงานรูปแบบ “นครพนมโมเดล” ซึ่งปฏิบัติการเชิงรุก X-ray ตรวจปัสสาวะกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด ค้นหาผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด (โดยชุดปฏิบัติการคัดกรองฯ 12 ทีม) พื้นที่ไข่แดง (อำเภอศรีสงคราม) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 51,260 ราย เริ่มดำเนินงานวันที่ 1-15 ธันวาคม 2567 พื้นที่ไข่ขาว (อำเภอนาหว้า บ้านแพง ท่าอุเทน และอำเภอโพนสวรรค์) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 146,351 ราย ดำเนินการในช่วงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม-15 กุมภาพันธ์ 2568 พื้นที่กะทะ (อำเภอปลาปาก วังยาง เรณูนคร นาแก และอำเภอธาตุพนม) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 189,207ราย และพื้นที่พิเศษ (อำเภอเมืองนครพนม) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 87,263 ราย ซึ่งทุกพื้นที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 28 กรกฎาคม 2568
Facebook: งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
https://www.facebook.com/share/p/15hj49N4Ee/
Facebook: R8WAY_Communication
https://www.facebook.com/share/p/1AYk5CLTZn/