ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 15 View
- อ่านต่อ
และให้โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จัดหน่วยแพทย์รับมือ ภาพรวมการแพทย์ขณะนี้พร้อม สำรองเลือด 6,800 ยูนิต เตียงว่างรพ.กทม-ปริมณฑล กว่า 1,000 เตียง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า ในวันนี้ได้มาตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเรามีศูนย์บัญชาการลักษณะนี้จำนวน 79 ศูนย์ทั่วประเทศ รวมทั้งศูนย์เอราวัณที่รับผิดชอบในเขตกรุงเทพมหานครด้วย
สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นหากมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม ในภาพรวมขณะนี้ถือว่ามีความพร้อม ทั้งการสำรองเตียงเฉพาะในเขตกทม.มีทั้งหมด 850 เตียง เป็นของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 93 เตียง สังกัดกทม. 100 เตียง สังกัดรพ.มหาวิทยาลัย 178 เตียง และรพ.เอกชน 469 เตียง เตรียมรถพยาบาลไว้ประจำพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 จุด คือที่รพ.สงฆ์ 6-7 คัน รพ.มิชชั่นซึ่งสภากาชาดไทย มูลนิธิร่วมกตัญญู และมูลนิธิอื่นๆ ร่วมกันรับผิดชอบ รวม 17 คัน วชิรพยาบาล 4-5 คัน รพ.กลาง สังกัดกทม. 10 คัน รวมทั้งหมด 40 คัน และยังมีเครือข่ายอีก 60 คัน รวมไม่ต่ำกว่า 100 คัน ที่พร้อมปฏิบัติการได้ทันที นอกจากนี้ได้เตรียมเรือกู้ชีพฉุกเฉินกว่า 40 ลำ เนื่องจากมีผู้ชุมนุมบางส่วนเดินทางมาทางเรือ เป็นเรือของกรมเจ้าท่า 20 ลำ กรมบรรเทาสาธารณภัย 20 ลำ วชิรพยาบาล สังกัดกทม. 2 ลำ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็มีโรงพยาบาลที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เช่นที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมอื่นๆ ทุกโรงพยาบาลได้สำรองออกซิเจน และเลือดไว้เต็มอัตรา รวมทั้งหมด 6,800 ยูนิต เฉพาะศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย 900 ยูนิต พร้อมที่จะประสานงานหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ขณะเดียวกันได้ประสานงานโรงพยาบาลทั้งหมด ให้เจ้าหน้าที่เตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง หากไม่จำเป็นขอให้เจ้าหน้าที่ประจำการที่โรงพยาบาล ไม่ลาหยุดในช่วงนี้ เพื่อให้พร้อมรับสถานการณ์หากเกิดความรุนแรงมีผู้ได้รับบาดเจ็บขึ้น
ในส่วนของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ขณะนี้ได้เปิดท่าเรือของโรงพยาบาลรองรับผู้บาดเจ็บตลอด 24 ชั่วโมง สามารถนำผู้ป่วยมารับการรักษาได้ทันที โดยได้สำรองเลือดไว้ 80-120 ยูนิต ออกซิเจนเต็มอัตรา เตียงรับผู้ป่วย 10 เตียง หน่วยกู้ชีพพร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน 2 คัน และเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลชุมชุนในจังหวัดนนทบุรี และมูลนิธิต่างๆ อีก 10 ทีม ส่วนเรื่องความปลอดภัยของโรงพยาบาลซึ่งอยู่ติดแม่น้ำนั้น ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเช่นเดียวกับทุกโรงพยาบาล ให้การดูแลเช่นเดียวกับหน่วยราชการทั่วไป
ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในส่วนของ 7 จังหวัดปริมณฑล ได้สำรองเตียงว่างเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการชุมนุมรวมทั้งหมด 448 เตียง ประกอบด้วย นนทบุรี 46 เตียง สมุทรปราการ 121 เตียง สมุทรสาคร 121 เตียง ปทุมธานี 80 เตียง สมุทรสงคราม 50 เตียง นครปฐม 51 เตียง และฉะเขิงเทรา 50 เตียง
************** 14 มีนาคม 2553