พร้อมกระจายภายใน 3 เดือนนี้  และยังสำรองให้ผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคมใช้ด้วย

                    วันนี้ (19 เมษายน 2553) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา5ธันวาคม 2550 กทม. นายจุรินทร์   ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ในวันนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากเป็นปีแรกที่ได้มีการจัดตั้งกองทุนยาขึ้นมา เป้าหมายของยุทธศาสตร์ดังกล่าวมี 3 ประการ ได้แก่ 1.เพื่อต้องการมุ่งเน้นให้ประชาชนผู้รับบริการเข้าถึงยาได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม2.ให้ประชาชนมีความมั่นใจในคุณภาพยาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ3.ต้องการให้มีการสั่งใช้ยาอย่างเหมาะสม
            นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ด้านยา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ในการจัดหายา กระจายยาที่จำเป็นให้ประชาชนเข้าถึงได้ 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสารสนเทศด้านยา โดยพัฒนาให้มีรหัสยากลางเกิดขึ้นในประเทศ 3.ยุทธศาสตร์การประกันคุณภาพยาในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพยาของระบบหลักประกันสุขภาพ 4.ยุทธศาสตร์ให้ประชาชนผู้รับบริการเข้ามามีส่วนร่วมในระบบยาของ สปสช. และ5.ยุทธศาสตร์ในการจ่ายเงินชดเชยอย่างเป็นธรรม
                                
            นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า โดยในรายละเอียดนั้น ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบเพิ่มเติม ในเรื่องการเข้าถึงยากำพร้า กลุ่มแอนติโดสหรือกลุ่มต้านความเป็นพิษในระบบหลักประกันสุขภาพด้วย โดยอนุมัติให้ใช้เงินงบประมาณ ของสปสช.จำนวน 5 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อยาหรือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลิตยากำพร้า เช่น อาจให้สภากาชาดไทยหรือองค์การเภสัชกรรมผลิต หรือให้ อย.นำเข้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความเหมาะสม ซึ่งยาในกลุ่มนี้ เป็นยาที่เราเรียกว่ายากำพร้า หมายความว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคที่พบน้อย และมีคนไข้น้อย อัตราการใช้ต่ำ แต่มีความจำเป็น เพราะหากมีคนป่วยอาจจะเกิดอันตรายร้ายแรง  อาจเสียชีวิตหรือพิการได้
                                
               ทั้งนี้ ยากำพร้าดังกล่าวมี 50 รายการ แต่ในวันนี้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในการซื้อหรือผลิตหรือนำเข้า 6 รายการ วงเงิน 5 ล้านบาท ได้แก่ ยาที่ใช้รักษาภาวะเป็นพิษจากสารหนู ปรอทและตะกั่ว จำนวน 2 รายการ,ยาใช้รักษาภาวะเป็นพิษจากไซยาไนต์ 2 รายการ,ยารักษาภาวะเป็นพิษจากเมทิโมโกลบินิเมีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อไตทำให้ไตวาย 1 รายการ และยารักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 1 รายการ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ระบบประกันสุขภาพสามารถให้ยานี้ในผู้ป่วยได้ถัดจากนี้ไป และยาดังกล่าวที่ผลิตหรือนำเข้าหรือจัดซื้อแล้ว ยังสามารถสำรองไว้สำหรับระบบที่เหลืออีก 2 ระบบคือระบบสวัสดิการข้าราชการและระบบประกันสังคม จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคที่พบน้อย และจำเป็นต้องใช้ยา โดยสปสช.คาดว่าจะดำเนินการกระจายยาไปยังจังหวัดต่างๆภายใน 3 เดือน
 ******************************************    19 เมษายน 2553


   
   


View 13    19/04/2553   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ