“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
บ่ายวันนี้(30 พฤษภาคม 2553)ที่ศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานการกิจกรรมพิเศษและสื่อสร้างกระแสสังคม เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2553 “หญิงไทยกำหลังตกเป็นเหยื่อ(Women : Tobacco Industry’s Victims)” ว่า ปัจจุบันปัญหาสำคัญของผู้ที่สูบบุหรี่ คือ ผู้หญิงมีแนวโน้มสูบบุหรี่รวมมากขึ้น โดยขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ติดบุหรี่มากกว่า 1,000 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงประมาณ 200 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ล่าสุดพบหญิงไทยสูบบุหรี่ 840,000 คน และมีแนวโน้มสูบบุหรี่มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงสูบบุหรี่มากขึ้นนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการทำการตลาดของบริษัทบุหรี่ที่มีการออกแบบุหรี่ในหลายรูปแบบ เช่น การใส่กลิ่น ปรับรส เน้นในเรื่องของการโฆษณาเพื่อที่จะจูงใจให้ผู้หญิงหันมาสูบบุหรี่มากขึ้น รวมถึงมีการผลิตบุหรี่เพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องรู้เท่าทันบริษัทบุหรี่โดยเฉพาะบริษัทบุหรี่ข้าชาติ หากไม่มีความเข้มแข็งพอ ตกไปเป็นเหยื่อทางการตลาดจนในที่สุดอาจตกเป็นทาสของบุหรี่ซึ่งจะนำมาสู่โรคภัยไข้เจ็บ เฉพาะในประเทศไทยพบว่าผู้เสียชีวิตทุก 10 คน จะมี 1 คนที่เสียชีวิตการสูบบุหรี่
ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับมูลนิธิ หน่วยงานต่างๆรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดอย่างต่อเนื่องรวมถึงการออกกฎระเบียบเพิ่มเติม เช่นประกาศกระทรวงฉบับที่ 19 ซึ่งได้กำหนดเขตพื้นที่ที่ห้ามสูบบุหรี่เพิ่มเติมขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด เช่น สนามกีฬา ศาสนาสถาน 2.สูบได้ในพื้นที่ที่กำหนดไว้นอกตัวอาคาร และ3.สูบได้ในอาคาร ซึ่งประเทศไทยอนุญาตให้สูบได้เพียงพื้นที่เดียว คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ในส่วนต่างประเทศ ทั้งนี้ในอนาคตจะต้องห้ามสูบด้วย ขณะนี้ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง สสส.กับองค์การอนามัยโลก โดยจัดให้เรื่องบุหรี่เป็นอีกเรื่องที่จะร่วมมือกันดำเนินการต่อไป ซึ่งหากร่วมมือรณรงค์อย่างจริงจัง ตัวเลขผู้สูบบุหรี่จะลดลง นายจุรินทร์ กล่าว