“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ย้ำเตือน “คนงานขุดบ่อน้ำ ขุดท่อ ห้องใต้ดิน” อย่าลงทำงานเพียงลำพัง เพราะหลุมยิ่งลึกปริมาณออกซิเจนที่ก้นหลุมยิ่งน้อยลง ชี้ในรอบ 7ปีพบเสียชีวิตมากถึง 24 ราย อัตราตายสูงถึงร้อยละ 71 ผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งเป็นผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ แนะต้องมีเพื่อนร่วมงานอย่างน้อย 3 คนคอยช่วยเหลือ
จากกรณีที่มีคนงานชาย 3 คน เสียชีวิตระหว่างขุดบ่อน้ำขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 4 เมตร เหตุเกิดที่ซอยรัตนาธิเบศร์ 10 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรีเมื่อบ่ายวานนี้ (14 มิถุนายน 2553) ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานสาเหตุว่าเกิดจากขาดอากาศหายใจ เพราะออกซิเจนไม่เพียงพอ นั้น
ความคืบหน้าดังกล่าว นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่ากรณีที่เกิดขึ้นนับเป็น อุทธาหรณ์แก่ผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีความลึก เช่น การขุดบ่อน้ำ ขุดท่อ อุโมงค์ ห้องใต้ดินหรือในไซโลข้าว เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเนืองๆ เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมาก ๆ ในรอบ 7 ปี ตั้งแต่ปี 2546 – 2552 สำนักระบาดวิทยารายงานว่ามีผู้ป่วย และเสียชีวิตจากการทำงานในที่อับอากาศ (confined space) มีผู้ป่วย 34 รายเสียชีวิต 24 ราย อัตราตายสูงถึงร้อยละ 71
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ผู้เสียชีวิตพบว่าประมาณร้อยละ 60 เกิดจากการขาดออกซิเจนและผู้ที่เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 56 เป็นผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยไม่ได้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนลงไป มีเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดคือการเสียชีวิตของคนงานโรงสีข้าว 8 ราย ที่จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2547 ซึ่งมีคนงาน 1 คนเสียชีวิตขณะลงไปทำความสะอาดในหลุมกระพ้อข้าวที่มีความลึก 3.5 เมตร ปากหลุมกว้างเพียง 0.5 – 1 เมตร จากนั้นมีคนงานและหน่วยกู้ภัยอีก 7 คนลงไปทำให้เสียชีวิตรวม 8ราย ผลการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนที่ก้นหลุมมีเพียงร้อยละ 3 และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 10 ทำให้ขาดอากาศหายใจ
ทางด้านนายแพทย์พิบูล อิสสระพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคกล่าวว่า คนที่ทำงานหรือทำกิจกรรมในที่เป็นโพรง หรือเป็นหลุมลึกลงไปใต้ดินควรได้รับความรู้ และรับทราบข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำงาน โดยต้องตรวจสอบปริมาณอากาศ โดยเฉพาะค่าระดับออกซิเจนที่ก้นหลุม ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 19.5-21.5 ซึ่งเป็นค่าปกติในอากาศทั่ว ๆ ไปที่ร่างกายต้องการคือร้อยละ 20 และควรตรวจสารพิษที่อาจเกิดขึ้น เช่น แก๊สมีเทน ไฮโดรซัลไฟด์ ซัลเฟอร์ไดร์อ๊อกไซด์ ก่อนลงทำงานทุกครั้ง
สำหรับประชาชนทั่วไป ที่ไม่มีเครื่องวัดระดับออกซิเจน สามารถตรวจสอบปริมาณของก๊าซออกซิเจนที่ก้นบ่อด้วยวิธีง่ายๆคือ ก่อนจะลงไปในบ่อให้จุดเทียนแล้วหย่อนเชือกลงไปที่ก้นหลุม หากเทียนดับแสดงว่ามีออกซิเจนไม่พอ เป็นอันตราย ไม่ควรลงไป ทั้งนี้ ในการทำงานในที่อับอากาศ แนะนำให้มีคนงานอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป มอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน โดยให้ลงไป 1 คน อีก 1 คนอยู่ปากหลุมหรือที่ทางขึ้นลง ที่เหลืออีก 1 คนเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่บริเวณรอบนอก และมีอุปกรณ์สื่อสารระหว่างกัน หากพบความผิดปกติจะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีประการสำคัญต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและช่วยชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบและมีอุปกรณ์ลากจูงขึ้นจากก้นหลุมลึกด้วย นายแพทย์พิบูล กล่าว