“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
เช้าวันนี้ (8 กรกฎาคม 2553) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันแถลงข่าวว่า เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา อย. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ตรวจสอบและจับกุมโกดังสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายแหล่งใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น ภายในโกดังพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อย.เคยตรวจพบและประกาศห้ามใช้ เนื่องจากมีสารอันตรายห้ามใช้มาแล้ว มากกว่า 50 รายการ มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นการส่งขายร้านย่อยในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน เครื่องสำอางที่ได้ยึดอายัดไว้ทั้งหมด เช่น ครีมมายูกิ เดอ มัวร์ กล่องสีน้ำเงินและกล่องสีม่วง, ทรีเดย์ สูตรเก่าดั้งเดิม, ป๊อปปูล่า, เมลาแคร์, เหมยหยง, พอลล่า ครีมทาสิวฝ้า เป็นต้น เข้าใจว่าส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน
ที่น่าเป็นห่วงก็คือเครื่องสำอางเหล่านี้มีการผสมสารห้ามใช้ ทั้งสารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิกหรือกรดวิตามินเอ ยาฆ่าเชื้อคีโตโคนาโซนและสารสเตียรอยด์ สารเหล่านี้มีอันตรายต่อผู้ใช้ในระยะยาว เช่น สารปรอทจะทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดการสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ สารไฮโดรควิโนนทำให้เกิดจุดด่างขาว เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย กรดวิตามินเอทำให้หน้าแดง แสบร้อน ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้แจ้งดำเนินคดีกับเจ้าของโกดังสินค้าใน 4 ข้อหา คือ 1.จำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.จำหน่ายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ4.จำหน่ายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“คาดว่ายังมีบางจังหวัดที่มีการดำเนินการดังกล่าว ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ติดตาม เฝ้าระวัง ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ทั้งเรื่องอาหาร ยาเครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ หากพบกรณีที่เป็นปัญหา ไม่กล้าเข้าจับกุมหรืออิทธิพลในพื้นที่ ให้ประสานส่วนกลางเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป” นายจุรินทร์กล่าว
นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ขณะนี้พบการจำหน่ายเครื่องสำอางผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก จึงขอฝากไปยังร้านค้าให้ติดตามข้อมูลเครื่องสำอางที่ห้ามใช้ ห้ามจำหน่ายด้วย เพราะผู้ที่จำหน่ายจะมีโทษเช่นเดียวกับผู้ผลิต สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางที่ห้ามใช้ ขณะนี้อย.ได้จัดทำเอกสารแผ่นพับรายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทาสิวทาฝ้า ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ ส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ หรือตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์อย. www.fda.moph.go.th และหากประชาชนพบเห็นหรือสงสัยมีการลักลอบผลิตเครื่องสำอางผิดกฎหมาย หรือพบเครื่องสำอางที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัยในการใช้ ขอให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่พบ หรือร้องเรียนมายังสายด่วนอย. 1556
นายแพทย์พิพัฒน์กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีประชาชนโทรสอบถาม แจ้งเบาะแส หรือร้องทุกข์ ทางสายด่วน อย. 1556 วันละประมาณ 100 สาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ โดยรอบ 9 เดือนปีงบประมาณ 2553 มีแจ้งร้องเรียนเรื่องเครื่องสำอางประมาณ 800 เรื่อง ล่าสุดพฤษภาคม – มิถุนายน 2553 มี 120 เรื่อง ส่วนใหญ่คือพบเห็นร้านจำหน่ายเครื่องสำอางมีสารอันตรายห้ามใช้ที่อย.เคยประกาศ หลายสายแจ้งเบาะแสระบุสถานที่จำหน่าย หากเป็นเขตกทม.และปริมณฑล อย.จะส่งเจ้าหน้าที่ออกดำเนินการเอง หากเป็นส่วนภูมิภาคจะให้เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดออกดำเนินการ กรณีประชาชนพบมีโรงงาน/แหล่งผลิตเครื่องสำอางอันตรายหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมปลอม ขอให้แจ้งเบาะแสที่สายด่วน อย. หรือที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หากอย.จับกุมได้จะมีสินบนนำจับให้ 10,000 – 30,000 บาท แล้วแต่แหล่งผลิตขนาดเล็กหรือใหญ่ โดยผู้แจ้งไม่ต้องแสดงตนใดๆ ทั้งสิ้น ขอให้บอกเฉพาะวิธีการติดต่อ อย.จะส่งเงินไปให้