ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 15 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (24 ตุลาคม 2553 ) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขว่า ขณะนี้ได้เร่งกระจายหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่กำลังประสบภัยทั้ง 27 จังหวัด และฟื้นฟูป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่น้ำลด 3 จังหวัด คือระยอง จันทบุรีและตราด สำหรับในส่วนกลางได้เปิดสายด่วนให้บริการประชาชนที่หมายเลข 02-590-1994 ซึ่งมี 10 คู่สายบริการ จะมีเจ้าหน้าที่รับตลอด 24 ชั่วโมง
นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมแก่ประชาชนไปแล้ว กว่า 3 แสนชุด และยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาแก้คันอีกจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการบริการประชาชน วันนี้ได้สั่งการให้องค์การเภสัชกรรมเพื่มกำลังผลิตยาชุดน้ำท่วมให้ได้วันละ 2 หมื่นชุด และให้โรงพยาบาลต่างๆเช่นโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลพระนารายณ์ ผลิตยารักษาโรคน้ำกัดเท้าเพิ่ม เพื่อให้บริการประชาชนอย่างเต็มที่ วันนี้จะส่งยาไปให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี รวมประมาณ 50,000 ชุดด้วย
ผลการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เมื่อวานนี้ ( 23 ตุลาคม 2553) ได้จัดทีมออกให้บริการประชาชน 49 ทีม มีผู้รับเจ็บป่วย 7,541 ราย โรคที่พบมากได้แก่ น้ำกัดเท้าร้อยละ 53 ปวดเมื่อยร่างกายร้อยละ 17 ไข้หวัดร้อยละ 13 ยอดสะสม ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2553 ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 246 ทีม ผู้เจ็บป่วย 39,046 ราย กว่าร้อยละ 50 เป็นโรคน้ำกัดเท้า รองลงมาคือผื่นคันที่ผิวหนัง โดยทุกพื้นที่ยังไม่มีโรคระบาดเกิดขึ้น
ส่วนผลการเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมร่วม ของทีมสุขภาพจิต ภายในพื้นที่ ในจังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว ลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี นครสวรรค์และสระบุรี เฉพาะวันที่ 23 ตุลาคม มีจำนวน 522 ราย ตรวจพบปัญหาสุขภาพจิต 103 ราย ส่งรักษาต่อและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง 4 ราย สรุปในภาพรวมตั้งแต่น้ำท่วมจนถึงวันนี้ให้บริการตรวจรักษาทั้งหมด 4,888 ราย พบมีปัญหาสุขภาพจิต 708 ราย ส่งรักษาต่อและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง 78 ราย
ทางด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือวอร์รูมของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลจากน้ำท่วมมีสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกว่า 300 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถานีอนามัย และโรงพยาบาลในสังกัด 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลพิมาย โรงพยาบาลจิตเวชมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลชัยภูมิ และโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ยังเปิดบริการได้ ขณะนี้เร่งสำรวจประเมินความเสียหาย
******************************************************** 24 ตุลาคม 2553