“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2553) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจมีการท่วมซ้ำที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราชและอาจทำให้ประชาชนเกิดภาวะความเครียดว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งทีมแพทย์เคลื่อนที่ ทั้งทีมสุขภาพจิต ควบคู่กับทีมสุขภาพกาย ลงพื้นที่ดูแลประชาชนโดยตลอดอยู่แล้วตามแนวทางปฏิบัติที่ได้สั่งการตั้งแต่เริ่มประสบอุทกภัยใหม่ๆ และขณะนี้มีตัวเลขผู้ป่วยที่มีความเครียดสูงประมาณ 500 รายที่จะต้องติดตามเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคซึมเศร้า โดยมีทีมแพทย์ติดตามโดยตลอดเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับโรงพยาบาล สถานบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ภาคใต้ ที่อาจจะเกิดน้ำท่วม ได้สั่งการให้ปฏิบัติตาม 4 แผนงานหลัก แม้ว่าในช่วงน้ำจะมารอบ 2 ก็ตาม โดยให้เตรียมการป้องกันน้ำท่วมของโรงพยาบาล การสำรองยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือต่างๆ ออกซิเจนเหลว การส่งต่อถ้าไม่สามารถให้บริการได้ และสุดท้ายคือการปรับรูปแบบการให้บริการออกนอกพื้นที่โรงพยาบาล หากมีน้ำท่วมโรงพยาบาล
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการดำเนินการมาตรการป้องกันโรงพยาบาล สถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก โรงพยาบาลที่น้ำท่วมจริงๆมีน้อยมากและแม้ว่าน้ำจะท่วมแต่ก็สามารถกู้คืนมาได้เร็ว ขณะเดียวกันในหลายพื้นที่มีน้ำท่วมนอกโรงพยาบาล แต่ในโรงพยาบาลไม่ท่วม ก็เป็นผลมาจากมาตรการที่เตรียมไว้ตั้งแต่ต้น ช่วยให้เราสามารถออกให้บริการผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องมากังวลกับปัญหาน้ำท่วมโรงพยาบาล นายจุรินทร์กล่าว
ทางด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ประสบภัย เมื่อวานนี้ (9 พฤศจิกายน 2553) จำนวน 201 ครั้ง มีผู้เจ็บป่วย 23,820 คน ยอดสะสมตั้งแต่ 20 ตุลาคม จนถึง 10 พฤศจิกายน 2553 มีผู้เจ็บป่วยรวม 541,792 คน พบโรคน้ำกัดเท้ามากอันดับ 1 ส่วนไข้หวัดมีแนวโน้มลดลง