“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 124 View
- อ่านต่อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้ภัยความเมา ขาดสติหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อผลกระทบสังคมไทยทันตาเห็น 3 เรื่อง คือปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาทะเลาะวิวาท และปัญหาอาชญากรรมทางเพศ ปีใหม่ 2554นี้ ให้ทุกจังหวัดคุมเข้มการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้าม เวลาห้าม เพื่อลดนักดื่มหน้าใหม่ เผยตลอดปี 2553 ได้กล่าวโทษผู้กระทำผิด 900 ราย ลงโทษแล้ว 13 คดี ปรับแล้วเกือบ 4 แสนบาท
วันนี้ (27 ธันวาคม 2553) ที่ห้างสรรพสินค้ายูเนี่ยน มอลล์ กทม. ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะเปิดรณรงค์ “สวัสดีปีใหม่ ไร้แอลกอฮอล์ 2554” เพื่อให้ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงโทษ พิษภัยและผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2554 ที่จะถึงนี้
ดร.พรรณสิริกล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2554 มีวันหยุดราชการติดต่อกัน 4 วัน ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับบ้านหรือท่องเที่ยวกับครอบครัว และมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉลองส่งท้ายปีและรับศักราชใหม่ ผลกระทบจากความมึนเมาเครื่องดื่มชนิดนี้ ที่เห็นผลทันตา 3 เรื่องใหญ่ในสังคมขณะนี้ ได้แก่ 1.ทำให้มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าช่วงปกติถึงร้อยละ 17 มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 13,000 คน บาดเจ็บกว่า 1 ล้านคน 2. ก่อปัญหาทำร้ายร่างกายจนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลร้อยละ 45 และ3.ก่ออาชญากรรมทางเพศร้อยละ 35
ดร.พรรณสิริกล่าวต่อว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนของนักดื่มหน้าใหม่ ที่เป็นกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มเยาวชน ซึ่งโอกาสส่วนใหญ่ของการเริ่มดื่ม จะมีอัตรามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ ดังนั้นในเทศกาลปีใหม่ 2554 นี้ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด สนับสนุนให้วัด ชุมชน ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ “ปีใหม่ปลอดเหล้า เคาท์ดาวน์ ไร้แอลกอฮอล์”และออกสุ่มตรวจและบังคับใช้กฎหมายตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เน้นกระเช้าปีใหม่ปลอดเหล้า ตรวจสถานที่ห้ามขาย-ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะตามปั๊มน้ำมัน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่นลานเบียร์ ซึ่งอาจมีการขายให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หรือขายในลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น การแจก แถม การขายพ่วงสินค้าอื่น และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ผลสำรวจล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อพ.ศ. 2550พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปซึ่งมี 51.2 ล้านคน เป็นผู้ดื่มสุราถึง 14.9 ล้านคน หรือร้อยละ 29 เป็นชายมากกว่าหญิง 6 เท่า ที่น่าห่วงคือกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24ปีมีอัตราการดื่มสูงถึงร้อยละ 22 เริ่มดื่มเมื่ออายุเฉลี่ยเพียง 17 ปี ส่วนในกลุ่มวัยทำงานอายุ 25-59 ปี ดื่มมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ คือร้อยละ 34
สำหรับผลการควบคุมตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 สำนักงานควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้รายงานผลตั้งแต่มกราคม - พฤศจิกายน 2553 ได้ตรวจเตือน ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ และกล่าวโทษดำเนินคดีผู้กระทำผิดรวม 3,080 เรื่อง อยู่ในกทม. 1,082 เรื่อง และภูมิภาค 1,998 เรื่อง โดยเปรียบเทียบปรับ 13 คดี เป็นเงิน 378,000 บาท มากที่สุดคือเรื่องการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7 คดี จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย 3 คดี ขายในหอพัก 2 คดี ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี 1 คดี และดื่มในสถานที่ราชการ 1 คดี