และร่วมกับท้องถิ่น จังหวัด ตั้งจุดบริการร่วมใน 114 จุดเสี่ยงทั่วประเทศ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 

              วันนี้ (29ธันวาคม 2553) ที่จ.พระนครศรีอยุธยา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เยี่ยมจุดบริการร่วมบริการประชาชน ที่หน้าปั้มน้ำมันปตท. ถนนมิตรภาพขาออก กิโลเมตรที่ 56อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นจุดพักรถ คลายเหนื่อยคลายง่วง ให้บริการน้ำดื่ม ผ้าเย็น ชากาแฟ บริการนวด เป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข ตำรวจ และองค์กรปกครองท้องถิ่น หลังจากนั้นเดินทางไปเยี่ยมศูนย์สั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน ร.พ.วังน้อย เป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่บนถนนสายหลัก มีรถวิ่งผ่านเฉลี่ย 80,000คันต่อวัน หากเป็นช่วงเทศกาลจะเพิ่มเป็นวันละกว่า 1แสนคัน

          นายจุรินทร์กล่าวว่า วันนี้เป็นการตรวจเยี่ยมความพร้อมในส่วนกระทรวงสาธารณสุข ในการรองรับหากมีการบาดเจ็บฉุกเฉินช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ 7 วันอันตราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบในการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดการบาดเจ็บแล้ว โดยกำหนดมาตรฐานการให้บริการโดยใช้หมายเลข 1669ซึ่งมีการออนไลน์ทั่วประเทศ หากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนของประเทศ จะมีศูนย์รองรับทั่วประเทศ หลังรับแจ้งเหตุจะประสานไปยังหน่วยกู้ชีพฉุกเฉินที่กระจายในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ให้ไปถึงที่เกิดเหตุตามมาตรฐานที่กำหนดไว้คือภายใน 10นาทีหลังรับแจ้งเหตุให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70ของปริมาณการรับแจ้งเหตุทั้งหมด ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และลำเลียงไปโรงพยาบาลที่ใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด
          นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีจุดเสี่ยงบนถนนสายหลักทั่วประเทศ จำนวน 68เส้นทาง รวม 144จุด ได้สั่งการให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ตั้งจุดร่วมบริการประชาชนร่วมกับจังหวัดตามจุดเสี่ยงดังกล่าว รวมทั้งก่อนหน้านี้ได้สั่งการ ให้โรงพยาบาลในสังกัด จำนวน 875แห่งทั่วประเทศ ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากร ห้องฉุกเฉินห้องผ่าตัด สำรองเลือด ยา เวชภัณฑ์ รถพยาบาลกู้ชีพ 1,282คัน เรือกู้ชีพ และเฮลิคคอปเตอร์ ประมาณ 100ลำและฝากเตือนประชาชนว่า ขับขี่มอเตอร์ไซค์ต้องสวมหมวกกันน็อค ขับรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ดื่มไม่ขับ ที่สำคัญที่สุดคือไม่ขับรถเร็ว เพราะเป็นสาเหตุเกิดอุบัติเหตุถึงร้อยละ 70 และการขับรถตัดหน้ากระชั้นชิดเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 10 
 ทั้งนี้ หากต้องใช้บริการรถสาธารณะหรือรถเช่ามีเกณฑ์การดูแลดังนี้ 1.ต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วน เช่นเข็มขัดนิรภัย ฆ้อนทุบกระจก อุปกรณ์ดับเพลิง และประกันภัยรถยนต์ 2.ตรวจสภาพรถ เบรค ยาง 3.พนักงานขับรถไม่ว่ารถตนเองหรือรถสาธารณะ ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4.เลือกใช้เส้นทางที่คุ้นเคย ไม่ใช้เส้นทางที่ห้ามใช้ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ เช่นเดียวกับกรณีที่รถโรงพยาบาลตกเขาที่ดอยแม่สลอง 5.หากระยะทางเกิน 400  กิโลเมตรขึ้นไป ต้องมีพนักงานขับรถ 2คน และพักทุก 4 ชั่วโมงอย่างน้อย 30นาที6.ผู้โดยสารต้องสังเกตสัญญาณง่วงของพนักงานขับรถ เช่น เหยียบเบรกโดยไม่มีเหตุผล หาวบ่อยๆ ต้องให้หยุดขับรถและพัก เพราะหากหลับใน 3-4วินาทีขณะที่ความเร็วรถ 100กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท่ากับรถวิ่งไปโดยไม่มีผู้ควบคุม ซึ่งเป็นอันตรายมาก
********************************** 29 ธันวาคม 2553


   
   


View 2       ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ