หรือที่กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ กรณีพบเด็กดักแด้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพบเพิ่มที่จังหวัดสมุทรปราการ มหาสารคามว่า สำหรับกรณีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนพบเห็นเด็กดักแด้และยังไม่ได้รับการรักษา กระทรวงสาธารณสุขยินดีที่จะเข้าไปช่วยดูแลรักษา โดยสามารถติดต่อโดยตรงไปที่สถาบันโรคผิวหนัง หรือผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กระทรวงสาธารณสุขว่า โรคดักแด้เป็นอาการความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่เกิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหรือเกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะราย ลักษณะใหญ่ๆมี 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มแรกคือโรคเกล็ดปลา,โรคเกล็ดงูหรือที่เรียกว่า อิกไทโอซีส (Ichthyosis) เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบไม่บ่อยมีความรุนแรงแตกต่างกันและอัตราการเกิดแตกต่างกัน โดยชนิดไม่รุนแรงอาจพบได้บ่อย ส่วนชนิดรุนแรงมากพบในอัตรา 1:100,000 หรือบางชนิด พบ 1:300,000 รายประชากร เป็นข้อมูลในภาพรวมทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการรวบรวมสถิติ โดยเด็กที่เกิดมาจะมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่เหมือนดักแด้ เมื่อสัมผัสอากาศผิวหนังจะแห้ง ลอก ตกสะเก็ดทั่วตัว ผิวที่แห้งตึงอาจทำให้ตาและปากถูกดึงจนแตกเป็นแผลได้ การรัดตึงของผิวหนังจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการขยับแขนขา มือเท้า จนอาจทำให้เกิดความพิการซ้ำซ้อน หรือเกิดแผลที่กระจกตา จากการที่เปลือกตาปิดไม่สนิท ส่วนชนิดที่รุนแรงที่สุด ผิวหนังที่เป็นเปลือกหุ้มจะหนาและแตกออกทั่วตัวเหมือนเปลือกไข่ ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับนี้มักมีอาการแทรกซ้อนจากการสูญเสียน้ำ การขาดอาหารและการติดเชื้อที่ผิวหนัง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสามารถมีอาการดีขึ้นได้จากการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการดูแลแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ 1.ในระยะสั้น โดยการดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้น โดยทาครีมบำรุงผิวแบบเข้มข้นอย่างสม่ำเสมอ ดูแลปัญหาการอักเสบติดเชื้อ ผลแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา หู การหายใจ ภาวะซีด ตลอดจนให้สารอาหารเต็มที่เพื่อให้เจริญเติบโต 2.ในระยะยาว ต้องรักษาด้วยยากลุ่มกรดวิตามินเอ เป็นยาที่ทำให้การแบ่งตัวและการลอกตัวของเซลล์ผิวหนังเป็นไปอย่างปกติ แต่ยานี้อาจเกิดผลข้างเคียง ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง รวมทั้งต้องประเมินการเจริญเติบโต และด้านสติปัญญา การมองเห็น การได้ยิน ปัญหาความพิการซ้ำซ้อนของมือ เท้าและการเคลื่อนไหวของแขนขา ซึ่งกรณีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอาจเป็นผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ส่วนกลุ่มที่ 2 เรียกว่าอิพิเดอโมไลซิส บูโลซ่า( Epidermolysis) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งมีการถ่ายทอดได้หลายแบบ ชนิดรุนแรงอาจพบได้ตั้งแต่ทารก ลักษณะผิวหนังด้านนอกจะบางเกิดการพุพอง ฉีกขาด เกิดบาดแผลได้ง่ายทั้งการเกิดแผลเองหรือกระทบกับสิ่งแวดล้อม มักพบรอยบาดแผลตามแขน ขา ศอก เข่า ในรายที่รุนแรงอาจพบบาดแผลถลอกได้ทั่วร่างกาย การรักษาต้องเน้นที่การป้องกันการเกิดบาดแผล การทำแผล การรักษาการอักเสบติดเชื้อ ************************ 12 กุมภาพันธ์ 2554


   
   


View 9       ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ