ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 15 View
- อ่านต่อ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้บริหารและนักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุขไทย เข้าร่วมประชุม สมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 64 ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 16-24 พฤษภาคม 2554 โดย ปีนี้เน้นการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ ว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้แทนไทยซึ่งประกอบด้วยนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมสุขภาพจิตและนักวิชาการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 64 (The Sixty-fourth World Health Assembly : WHA) ระหว่างวันที่ 16-24 พฤษภาคม 2554 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส จัดโดยองค์การอนามัยโลก โดยมีผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 193 ประเทศเข้าประชุมกว่า 2,000 คน เพื่อร่วมมือกันกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยหัวข้อหลักของการประชุมปีนี้คือการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
นายแพทย์ไพจิตร์ ได้กล่าวถ้อยแถลงในเวทีสาธารณสุขระดับโลก ว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับโรคไม่ติดต่อได้แก่ เบาหวาน ความดัน มะเร็ง อัมพาต และโรคหัวใจ เป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนถึงร้อยละ 40 โดยเฉพาะอุบัติเหตุและโรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ1 นอกจากนี้ยังเป็นภาระค่ารักษาพยาบาลถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีหรือ 90,000 ล้านบาท
ดังนั้น รัฐบาลไทยโดยคณะรัฐมนตรี จึงได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ที่ให้ความสำคัญกับการรณรงค์ทางสังคมอย่างกว้างขวาง ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ให้ลดอาหารรสหวาน มัน เค็ม ส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ และเพิ่มการออกกำลังกาย รวมทั้งคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาโรคความดันหิตสูงและเบาหวาน โดยผ่านกลไกการทำงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในระดับรากหญ้า ช่วยให้แผนการป้องก้นโรคไม่ติดต่อประสพความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต้องมีงบประมาณของตนเองที่นอนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยได้ใช้เงิน 2 เปอร์เซ็นต์จากภาษีเหล้าและบุหรี่
นอกจากนี้ ได้นำเสนอวิธีการของไทยเพื่อการลดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นให้ได้ร้อยละ 10 และลดผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองให้ได้ร้อยละ 50 ในปีพ.ศ.2557 โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการติดภาพคำเตือน อันตรายของการสูบบุหรี่โดยหมุนเวียนภาพ 10 ภาพที่ซองบุหรี่ รวมทั้งได้มีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นวีธีการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ไม่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
และในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับ องค์การอนามัยโลก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส.) พันธมิตรนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลก (Global Alcohol Policy Alliance) จัดการประชุมนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลกประจำปี2554 ภายใต้หัวข้อ จากยุทธศาสตร์ระดับโลกสู่การปฎิบัติระดับชาติและท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2554 ที่ กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยจะดำเนินการคู่ขนานไปกับรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น จะสามารถจัดการกับปัญหาโรคไม่ติดต่อได้สำเร็จ
********************** 16 พฤษภาคม 2554