เฉพาะพื้นที่ที่สามารถดูแลประชาชนได้ พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม

 

   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสั่งโรงพยาบาลทุกแห่งเร่งป้องกันน้ำท่วม  พร้อมให้เปิดเป็นศูนย์อพยพประชาชนที่ประสบอุทกภัย ให้เข้ามาพักอาศัยได้  และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเฝ้าระวังโรคระบาดที่มากับน้ำอย่างเข้มข้น ย้ำเตือนประชาชนให้รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก อย่าเดินลุยน้ำ  หากจำเป็นให้ล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังเสร็จภารกิจ   และหากถ้ามีไข้สูงร่วมกับปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ให้รีบพบแพทย์ทันที 

วันนี้ (3 ตุลาคม 2554) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งปฏิบัติตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมสถานพยาบาล   สำรองจุดบริการนอกโรงพยาบาล จัดหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด   และให้โรงพยาบาลทุกแห่งที่มีพื้นที่มากพอ ให้เตรียมความพร้อมเป็นศูนย์อพยพประชาชนด้วย  เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย

         

         

นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว  เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วมอย่างเข้มข้น ให้ตรวจจับการระบาดของโรคให้ได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเดินหายใจ และโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ไข้หวัด ตาแดง โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ รวมถึงโรคฉี่หนูด้วย

พร้อมกันนี้ขอให้ผู้ประสบภัยกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ปรุงสุกด้วยความร้อนอย่างทั่วถึง ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและภายหลังจากเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม และใช้ช้อนกลางตักอาหาร ไม่ใช้ของใช้เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ร่วมกับผู้ป่วย ประการสำคัญให้ถ่ายอุจจาระลงส้วม  หากไม่มีส้วมหรือส้วมใช้การไม่ได้    ขอให้ถ่ายลงในถุงดำ ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่น และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี  ไม่ควรทิ้งลงน้ำ เนื่องจากอาจทำให้เชื้อแพร่โรคแพร่ระบาดได้ง่าย   และอย่าเดินลุยน้ำ หากจำเป็นต้องล้างรีบล้างเท้าให้สะอาดหลังเสร็จภารกิจแล้ว     โดยหากมีไข้สูงและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

       

สำหรับในส่วนของบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการไปแล้ว3,325 ครั้ง  มีผู้เจ็บป่วยสะสมรวม 405,268 ราย  โรคที่พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และปวดศีรษะ เสียชีวิต 212 ราย ส่วนด้านสุขภาพจิต ผลการตรวจคัดกรอง พบผู้มีความเครียดรวม 53,465 ราย ในจำนวนนี้เครียดสูง 1,589 ราย พบผู้มีอาการซึมเศร้า 3,333 ราย และผู้เสี่ยงฆ่าตัวตาย 444 ราย 

               ........................                    3 ตุลาคม 2554



   
   


View 11       ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ