ปลัด สธ. ติดตามการดูแลรักษา “พระ-ผู้แสวงบุญ” ในดินแดนพุทธภูมิ จัดส่งทีมแพทย์ 6 รุ่น รวม 60 คน
- สำนักสารนิเทศ
- 15 View
- อ่านต่อ
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ได้ร่วมประชุมโต๊ะกลมร่วมกับนายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติเรื่อง การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติประเทศไทย ซึ่งผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานของสหประชาชาติ ทูตานุทูตจากหลายประเทศ หน่วยงานภาครัฐ เอ็นจีโอของประเทศไทย โดยเลขาธิการสหประชาชาติ ได้แสดงความชื่นชมโครงการหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย และเรียกร้องให้ทุกประเทศใช้ไทยเป็นบทเรียนในการเร่งดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชนต่อไป
นายวิทยากล่าวต่อว่า ได้กล่าวต้อนรับเลขาธิการสหประชาชาติ และชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยและกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาโดยตลอด แม้จะเกิดภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ ระบบหลักประกันสุขภาพฯเป็นที่พึ่งเป็นอย่างดีให้กับประชาชนที่ประสบภัย ทำให้ได้รับการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี โดยอำนวยความสะดวกในการขนย้ายผู้ป่วย และการเข้ารับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาลนอกพื้นที่ได้โดยสะดวก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยผู้ติดเชื้อที่รับยาต้านไวรัสเอดส์ ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต ก็ได้รับยาและบริการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโรงพยาบาลที่เคยใช้บริการจะปิดดำเนินการจากภาวะน้ำท่วมก็ตาม
นอกจากนี้ แม้รัฐบาลจะต้องปรับลดงบประมาณจากทุกกระทรวงลงร้อยละ 10 เพื่อระดมทรัพยากรนำไปใช้ในการแก้ไขและฟื้นฟูปัญหาอุทกภัย ซึ่งงบประมาณในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถูกปรับลดลงเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น เพียงพอที่จะดูแลประชาชนทั้ง 48 ล้านคนในโครงการฯ
นายวิทยากล่าวต่อไปว่า หลังจากที่รัฐบาลไทยได้เริ่มดำเนินการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา พบว่าเป็นนโยบายที่ได้ผลในการลดความยากจนจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติถึง 4 ข้อ จากทั้งหมด 8 ข้อ ซึ่งในโอกาสที่ดำเนินการครบรอบ 10 ปี กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก นักวิชาการอิสระ มาประเมินผลโครงการฯ โดยผลการประเมิน ประสบการณ์การทำงาน เรื่องหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย จะเป็นองค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้นานาประเทศนำไปใช้ดำเนินการในประเทศได้
***************************** 17 พฤศจิกายน 2554