“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 128 View
- อ่านต่อ
นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดติดตามการดำเนินงานจัดบริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ เข้าสู่มาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ราคากลางของกรมบัญชีกลาง 10,500 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ตามระบบดีอาร์จี หากระบบมีความพร้อม ให้เร่งดำเนินการทั้งภาครัฐและเอกชนพร้อมกันทั่วประเทศ และเตรียมบูรณาการบริการร่วมอีก 2 โรค คือโรคเอดส์ และโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของการบูรณาการ ลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐคือกองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการราชการและกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานเดียวกัน หลังจากที่มีนโยบายการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้ได้รับบริการที่เร็วที่สุด ซึ่งจะเริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศทั้งรัฐและเอกชน โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว ไม่มีการทวงถามสิทธิ์อีกต่อไป ไม่มีการสำรองจ่ายเงินล่วงหน้าว่า ในการเตรียมพร้อมเริ่มระบบบริการดังกล่าว ได้มอบหมายให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หารือข้อสรุปการบริหารค่าใช้จ่ายในระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินร่วมกัน ของ 3 กองทุนให้เสมอภาคและเท่าเทียมกัน
นายวิทยากล่าวต่อว่า ผลการประชุมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2555 ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ข้อสรุปดังนี้ กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับบริการกับโรงพยาบาลในเครือข่าย 3 กองทุน ระบบการจ่ายเงินให้หน่วยบริการ ให้เป็นไปตามระบบปกติของทั้ง 3 กองทุน กรณีบริการผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่อยู่นอกระบบของ 3 กองทุน ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลอัตราเดียวกันและให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสปสช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยระบบจ่ายกลาง (Clearing house) ในการจ่ายค่าชดเชยบริการ ให้ใช้อัตราของกรมบัญชีกลาง คือ 10,500 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ตามระบบดีอาร์จี หากระบบต่างๆมีความพร้อม ก็จะเร่งดำเนินการทั้งโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศ โดยจะนำเข้าที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 13 มีนาคม 2555 นี้