วันนี้ (5 กรกฎาคม 2555) ที่จังหวัดภูเก็ต ในโอกาสการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ทางกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ร่วมกับองค์กรโรลแบ็กมาลาเรีย (Roll Back Malaria) ได้จัดการประชุมคู่ขนานของผู้บริหารระดับสูง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนจากภาคการเมืองในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของมาลาเรียในภูมิภาค

การพบหลักฐานการดื้อยามาลาเรียในภูมิภาคทำให้มาลาเรียเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองจากภาคีนานาชาติผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลว่าสายพันธุ์มาลาเรียที่ดื้อยาอาจแพร่ไปยังส่วนอื่นของภูมิภาคหรือทวีปอื่นๆยาสูตรผสม ในกลุ่มอาร์ติมิซินิน (Artemisinin) อาจด้อยประสิทธิภาพลงและส่งผลต่อความพยายามในการทำงานเพื่อลดการแพร่ระบาด ของมาลาเรียในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
 
“ประเทศต่างๆในเอเชียกำลังเผชิญภาวะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของมาลาเรียดื้อยาอาร์ติมิซินิน ดร.โทมัส ทอยเชอร์ ผู้อำนวยการบริหาร RBM กล่าว "องค์การอนามัยโลกได้ให้การสนับสนุนให้เกิดแผนการทำงานที่ชัดเจนและได้ให้ข้อแนะนำ ด้านเทคนิคต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งสำคัญในขณะนี้คือความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของมาลาเรีย และ เร่งระดมทุนเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยา”
 
“แม้ว่าสถานการณ์มาลาเรียในประเทศอาเซียนมีความแตกต่าง แต่ก็ยังมีปัญหาที่คล้ายกันในบางประเด็น และต้องหาทางออกร่วมกัน นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกล่าวความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาการดื้อยาที่เกิดขึ้นในภูมิภาค และเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคต่างๆร่วมกัน ไทยมีความยินดีอย่างยิ่งในการจัดประชุมคู่ขนานในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนในครั้งนี้”
 
ในปี 2553 ข้อมูลระบุว่า ร้อยละ  6 ของจำนวนประชากรที่เสียชีวิตจากมาลาเรีย และร้อยละ 13 ของจำนวนผู้ติดเชื้อมาลาเรีย มีถิ่นพำนักอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเอเชียเป็นทวีปที่ได้รับผลกระทบจากมาลาเรียมากเป็นอันดับสองของโลกการแพร่ระบาดของมาลาเรียลดน้อยลงในพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจการขยายตัวของเมืองใหญ่ และการลดปริมาณป่าไม้ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานอกจากนั้น เมื่อประเทศมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ก็จะมีการบริการด้านสุขภาพและโครงการด้านมาลาเรียควบคู่กันไปทำให้สามารถลดการแพร่ระบาดของมาลาเรียได้  อย่างไรก็ตามการระบาดของมาลาเรียยังคงเกิดขึ้นในชุมชนที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่และพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชากร ไม่สามารถ เข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้
 
“พื้นที่ที่ห่างไกลของประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลอดเชื้อมาลาเรีย ยกเว้นพื้นที่บริเวณชายแดนระหว่างไทย - พม่า กัมพูชา และมาเลเชียซึ่งยังพบผู้ติดเชื้อมาลาเรียอยู่บ้างเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของประชากร นพ.วิชัยกล่าว  สำหรับประเทศไทยเรามีเจ้าหน้าที่ที่สามารถทำการตรวจหาเชื้อและให้การรักษามาลาเรียได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ”
 
            การแพร่ระบาดของมาลาเรียในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่เป็นป่าในภูมิภาคนี้ ยังคงมีปริมาณสูงเนื่องจากการยุงที่เป็นพาหะ นำโรคสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูงห่างไกลชุมชนและไม่สามารถเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขได้จากรายงานองค์การอนามัยโลก ประชากรที่พำนักอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนประมาณ 330 ล้านคนอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย         
 
  ***************************** 5 กรกฎาคม 2555
ข้อมูล : The Globol Partnership for a Malaria-free World 


   
   


View 12    05/07/2555   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ