“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 138 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2555) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ประดิษฐ สินธวรณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนจากสภาการพยาบาล สำนักการพยาบาล และสภาเทคนิคการแพทย์ ร่วมกันแถลงข่าว ความคืบหน้าการบรรจุลูกจ้างชั่วคราว 21 สายวิชาชีพของกระทรวงสาธารณสุขเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า ในปี 2555 นี้ ก.พ. ได้อนุมัติตำแหน่งข้าราชการให้กระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด 10,494 อัตรา ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานตั้งแต่พ.ศ. 2549 – 2551 จำนวน 7,547 อัตรา และใช้บรรจุนักเรียนทุนรัฐบาล 3 สายงาน ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร จำนวน 2,947 อัตรา ในพ.ศ. 2556 และ 2557 มีตำแหน่งบรรจุข้าราชการปีละ 7,547 อัตรา ไม่รวมนักเรียนทุน 3 สายงาน ทั้งหมดนี้กระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 18 ธันวาคม 2555 หลังจากครม.อนุมัติแล้ว จะดำเนินการได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
หลักเกณฑ์การบรรจุจะพิจารณากลุ่มแรกที่ทำงานตั้งแต่ พ.ศ.2549-2551 จะต้องผ่านการประเมินผลงานจากสถานที่ปฏิบัติงาน และสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะแล้ว ส่วนลูกจ้างชั่วคราวที่ยังไม่ผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขระหว่างรอการบรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุขสายวิชาชีพจะได้รับเงินเดือนในอัตรา 1.2 เท่าของข้าราชการ เลื่อนค่าจ้างปีละ 1 ครั้งวงเงินร้อยละ 6 ต่อปีเท่าข้าราชการ ซึ่งสูงกว่าพนักงานราชการที่วงเงินร้อยละ 4 มีสิทธิ์ขอโยกย้าย ลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ปฏิบัติการวิจัยได้ ต่อสัญญาทุก 4 ปี และเลิกจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคม และทายาทสายตรงได้แก่บิดา-มารดา-สามีหรือภรรยาและบุตร ใช้สิทธิ 30 บาทที่มีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม มีสิทธิ์การกู้เงินธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์และสิทธิบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทยได้ สำหรับเรื่องการจัดทำระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังเพื่อให้ความเห็นชอบ โดยบุคลากรที่ทำงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวทุกคนจะเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะมีกรอบอัตรากำลังการบรรจุ และได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการพนักงานกระทรวงสาธารณสุขในแต่ละปี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ประเภททั่วไป มี 3 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มเทคนิค บริการ และบริหารทั่วไป 2) กลุ่มวิชาชีพ 3) กลุ่มเชี่ยวชาญ และ2.ประเภทพิเศษ เช่น วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจเชื่อมั่นในมาตรการการแก้ไขปัญหากำลังคนของกระทรวงสาธารณสุข เพราะบุคลากรสายวิชาชีพทั้งหมดเป็นบุคลากรที่สำคัญที่จะดูแลชีวิตของผู้เจ็บป่วยให้ปลอดภัย และเป็นวิชาชีพที่ประชาชนเชื่อมั่นอยู่ในระดับแนวหน้าของทุกวิชาชีพ ฝากความหวังที่จะได้รับบริการอย่างญาติมิตร จรรยาบรรณวิชาชีพจึงมิอาจละเลยหรือลดหย่อนลงไป
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงพ.ศ. 2556-2557 กระทรวงสาธารณสุข ได้วางแผนด้านการพัฒนาระบบบริการเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ใน 4 เรื่องใหญ่ ได้แก่ 1.การทบทวนภารกิจและปรับปรุงระบบบริการทั่วประเทศ 2.พัฒนาระบบบริหารกำลังคนภาครัฐ 3.ปรับปรุงระบบการเงินการคลังของสถานบริการในสังกัด และ4.ขับเคลื่อนการนำมาตรการระยะยาวด้านกำลังคนไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุดและใกล้บ้าน
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข มีบุคลากรทั้งสิ้น 320,000 คน เป็นข้าราชการ 180,000 คน และลูกจ้างชั่วคราว 140,000 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานในสายวิชาชีพ 21 สายงาน ประมาณ 30,000 กว่าคน โดยการแก้ไขปัญหาได้แก้ไขทั้งระบบ ทุกสายวิชาชีพและสายสนับสนุน ให้ได้รับความเป็นธรรม ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เสมอภาค ทุกระดับ ทุกวิชาชีพมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งการแก้ไขปัญหาระยะสั้นจะให้ความสำคัญกับสายวิชาชีพ จำนวน 30,000 คน ขณะเดียวกันลูกจ้างชั่วคราวที่เหลืออีกกว่า 1 แสนคนจะเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีความมั่นคงและสวัสดิการที่ดีขึ้น สำหรับการจัดสรรตำแหน่งบรรจุข้าราชการ ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดจำนวนในแต่ละสายวิชาชีพ จะกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโดยให้ทุกวิชาชีพมีส่วนร่วม เช่น ความขาดแคลนสาขาวิชาชีพ ระดับความกันดารของพื้นที่
นายแพทย์รงค์กล่าวต่ออีกว่า การแก้ไขปัญหาระยะยาว คือการปรับระบบบริการ เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยโรงพยาบาลในเครือข่ายร่วมกันวางแผนบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร ทั้งกำลังคน งบประมาณ สิ่งก่อสร้าง ขณะนี้ได้เริ่มต้นแล้วโดยแบ่งเป็น 12 เครือข่ายบริการ และมีคณะกรรมการบริหารเครือข่าย จะขยายให้ชุมชน และองค์กรปกคองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ในอนาคตเครือข่ายจะบริหารเงินงบประมาณด้วยตนเอง
***************************** 30 พฤศจิกายน 2555