“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 136 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (25 มีนาคม 2556) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เงินค่าตอบที่โรงพยาบาลได้รับมีหลายส่วนเช่น เงินพตส. ที่เป็นเงินงบประมาณ ค่าตอบแทนสำหรับวิชาชีพสาธารณสุขบางสาขาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล เช่น แพทย์จะได้รับตั้งแต่ 5,000 -15,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาชีพ และตามความขาดแคลน หากเป็นศัลยแพทย์ระบบประสาทก็จะได้จำนวนที่สูงเช่น เงินค่าไม่ทำเวชปฏิบัติ หรือการไม่เปิดคลินิก 10,000 บาทต่อเดือน และมีค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ส่วนค่าตอบแทนสำหรับพยาบาลที่เข้าเวรบ่ายดึกด้วยประมาณ 240 บาทต่อเวร ซึ่งส่วนนี้เป็นเงินที่จ่ายแบบประจำ
นอกจากนี้จะมีค่าตอบแทนฉบับที่ 4 ฉบับที่ 6 เป็นของโรงพยาบาลชุมชน และฉบับที่ 7 เป็นของโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังปรับ โดยจะยกเลิกฉบับที่ 7 ส่วนฉบับที่ 4 และ 6 จะปรับลดในบางพื้นที่ได้แก่พื้นที่ชุมชนเมือง ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนในพื้นที่ปกติและพื้นที่ทุรกันดารระดับ 1 ระดับ 2 ยังคงในอัตราเดิม ซึ่งจะมีเกณฑ์ในการปรับ โดยฉบับ 4, 6 จะปรับลดในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่และกลาง โดยแพทย์จะปรับลด 5,000 บาทต่อเดือน สำหรับเขตชุมชนเมืองอาจจะปรับมากหน่อยลดลงประมาณร้อยละ 50 ซึ่งจะเป็นการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใน 3 กลุ่ม ซึ่งเงินที่ปรับลดยังคงเก็บไว้ในโรงพยาบาลและในวิชาชีพแพทย์ และจะใช้วิธีการจ่ายโดยจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะดูจากผลการปฏิบัติงานทั้งการตรวจผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก ผลการเยี่ยมบ้าน และภาระงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ในการเก็บข้อมูล เพราะฉะนั้นค่าตอบแทนก็ยังคงอยู่ที่วิชาชีพเช่นเดิม และทางรัฐบาลโดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็จะเพิ่มให้อีก 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างรวมเข้าไปด้วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตามจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน โดยการปรับลดนั้นจะขึ้นกับแต่ละพื้นที่ ปกติการจ่ายจะอยู่ที่ 20,000-50,000บาทต่อเดือน เช่น ในแพทย์ที่ทำงาน 11 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กที่อยู่ในอำเภอเมืองจะได้ 50,000บาทต่อเดือน
นายแพทย์ณรงค์กล่าวต่อว่า ในการจ่ายค่าตอบแทนแบบดูจากผลงานนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีคู่มือในการเก็บคะแนนเป็นพื้นฐานการวัดผล ทุกวิชาชีพต้องทำงานได้ตามเกณฑ์พื้นฐาน หากทำงานเกินเกณฑ์พื้นฐานก็จะได้รับค่าตอบแทน โดยจะใช้ยอดเงินเหมาจ่ายซึ่งแต่ละวิชาชีพเคยได้รับและเพิ่มให้อีก 1 เปอร์เซ็นต์ ใครทำงานมากก็จะได้รับมาก รวมทั้งสายผู้บริหารก็เก็บคะแนนด้วย โดยจะเริ่มเก็บข้อมูลในวันที่ 1 เมษายน 2556 นี้ ใครพร้อมก็เบิกจ่ายได้ก่อน ไม่พร้อมก็อาจจะให้เก็บเท่าที่ได้ก่อน แล้วค่อยมาขอเบิกจ่ายย้อยหลังก็ได้ ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละสาขาวิชาชีพเช่น ทันตแพทย์ เภสัชกร จะมีคะแนนไม่เท่ากัน เช่น แพทย์ทั่วไปที่จะผ่านเกณฑ์การรับค่าตอบแทนต้องมีประมาณ 2,200 คะแนนขึ้นไปต่อเดือน ซึ่งการเก็บคะแนนในขั้นแรกจะเริ่มเก็บในเวลาราชการก่อน ต่อไปอาจจะรวมกับนอกเวลาราชการด้วย ขณะนี้มีโรงพยาบาลที่ทำได้แล้วประมาณ 10 กว่าแห่ง และบางแห่งก็ทำมา 10 กว่าปีแล้ว
************************************ 25 มีนาคม 2556