“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 138 View
- อ่านต่อ
พร้อมศึกษาวิจัยระยะยาว 10 ปีหาต้นเหตุ พร้อมเป็นศูนย์กลางการวิจัยนานาชาติ
วันนี้ (16 พฤษภาคม 2556) ที่จังหวัดร้อยเอ็ด นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการโครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีมากที่สุดในประเทศไทยและมากที่สุดในโลก โดยพบอัตราป่วย 58 ต่อแสนประชากร ในขณะที่อัตราป่วยของประเทศอยู่ที่ 20 ต่อประชากรแสนคน จึงได้มีโครงการเพื่อค้นหาสาเหตุการป่วย หาแนวทางการป้องกัน รวมทั้งคัดกรองค้นหาผู้ป่วย เพราะหากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการรักษา จะช่วยให้อัตราการหายขาดดีขึ้น จากเดิมที่อัตราการตายสูงถึงร้อยละร้อย หากวินิจฉัยได้เร็วอัตราการรอดสูงถึงร้อยละ 30-50 โดยเฉพาะหากอัลตร้าชาวด์พบมะเร็งและผ่าตัดรักษาภายใน 2 เดือน ซึ่ง เป็นช่วงโอกาสทองของการรักษา แต่ปัญหาที่พบขณะนี้ คือคิวผ่าตัด ที่ต้องรอนานเกิน 2 เดือนทำให้โอกาสทองหายไป อัตรารอดชีวิตต่ำลง
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นเรื่องการรักษาและการศึกษาวิจัยระยะยาว 10 ปีเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็ง โดยในส่วนของการวิจัยครั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้ศึกษาในระดับชาติ โดยให้สภาวิจัยแห่งชาติร่วมดำเนินการ สร้างความเชื่อถือและใช้อ้างอิงในระดับโลกเพื่อชูให้ไทยไปศูนย์กลางการวิจัยนานาชาติ (Research Hub) ส่วนการรักษามีนโยบายจะพัฒนาให้โรงพยาบาลร้อยเอ็ดเป็นศูนย์เชี่ยวชาญรักษามะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับอย่างครบวงจรในภาคอีสานและภูมิภาค เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงของประชาชน โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านมะเร็งระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพระบบบริการมะเร็งแบบครบวงจร ตามแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เน้นดำเนินการอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งระบบการรักษาผู้ป่วย การป้องกันและควบคุม การตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยมะเร็งระยะเริ่มต้นให้พบเร็วที่สุด และให้การรักษาก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม ซึ่งจะทำให้โอกาสหายขาดสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน จะพัฒนาโรงพยาบาลพนมไพรซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนให้เป็นหน่วยบริการที่มีความเป็นเลิศในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเชิงรุก และมีความเป็นเลิศด้านการวิจัยปัญหาสุขภาพระยะยาว โดยในการประชุมวันนี้จะมีการหารือแผนการลงทุนด้านสิ่งก่อสร้าง เครื่องมือแพทย์ บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเน้นพัฒนาระบบบริการ ส่วนมูลนิธิโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เน้นเรื่องการวิจัยค้นคว้าหาวิธีการป้องกันและรักษาให้มีประสิทธิภาพ และจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีต่อไป
******************************* 16 พฤษภาคม 2556