“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 137 View
- อ่านต่อ
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายดูแลสุขภาพประชาชนทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย โดยไม่ให้มีการเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในแม่และเด็กที่ติดตามมากับแรงงานต่างชาติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาทางสังคมอื่นๆ ทั้งปัญหาการค้ามนุษย์ ทำร้ายเด็ก โสเภณี ยาเสพติด และปัญหาอาชญากรรม เป็นการดูแลตอบแทนที่คนกลุ่มนี้มีส่วนร่วมเข้ามาสร้างจีดีพีให้กับประเทศไทย โดยรัฐบาลพบว่าคนเหล่านี้ยังมีปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมาการขึ้นทะเบียนของคนกลุ่มนี้ต้องผ่านขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติที่ยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายมาก และในครั้งนี้ได้มอบให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้คนกลุ่มนี้อยู่ในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิสูจน์สัญชาติ โดยลดขั้นตอนให้มาขึ้นทะเบียนด้วยขั้นตอนง่ายๆ เช่น พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูป หากมีปัญหาสามารถตามตัวได้ง่ายเพราะมีข้อมูลและรูปถ่าย เป็นครั้งแรกที่นำมาตรการทางสาธารณสุขมาดูแลแรงงานต่างด้าวทั้งผู้ติดตามนอกระบบ 3 สัญชาติคือ พม่า กัมพูชา และลาว
ขณะนี้คาดว่าในไทย มีแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามนอกระบบรวม 3 ล้านคน ซึ่งจำนวนคนมาก ก็จะยิ่งใช้ทรัพยากรในประเทศมาก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ขอรับเรื่องนี้เข้ามาดำเนินการ โดยจะเข้าไปจดทะเบียนแบบมีเงื่อนไขว่าจะได้รับบริการสาธารณสุข หากซื้อประกันสุขภาพในราคาที่เหมาะสม คือเด็กวันละ 1 บาท จะได้รับการศึกษาฟรีด้วย ส่วนผู้ใหญ่เสียค่าประกันสุขภาพคนละ 2,200 บาทต่อปี และเพิ่มค่าตรวจร่างกายอีก 600 บาทต่อปี จะได้รับสิทธิการรักษาครอบคลุมโรคเอดส์ อนามัยแม่และเด็ก ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ14-15 บาท หรือประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของค่าแรง 300 บาทต่อวัน เป็นอัตราที่เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งไทยต้องเสียงบประมาณในการดูแลคนกลุ่มนี้ด้วยบ้าง แต่จะเป็นผลดีต่อประเทศ ช่วยลดปัญหาทางสังคม อาชญากรรม ลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุข รวมทั้งควบคุมโรคต่างๆ และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ
นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังได้เตรียมเสนอการจัดหาที่อยู่ให้คนกลุ่มนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นนิคม เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวจะหารือกับกระทรวงศึกษาธิการในการปรับปรุงระบบการศึกษา โดยขอให้ผลิตบุคลากรระดับอาชีวศึกษามากขึ้น เพื่อเพิ่มคนทำงานในภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมมากขึ้น มีการปรับค่าแรงให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาลดการใช้แรงงานจากคน โดยได้เชิญองค์กรนานาชาติ เอ็นจีโอ มูลนิธิต่างๆ มาหารือและช่วยกระตุ้นคนเหล่านี้ออกจากใต้ดิน ขึ้นมาจดทะเบียนด้วย ซึ่งองค์กรนานาชาติยินดีสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนการกระตุ้นให้คนเหล่านี้มาลงทะเบียน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาเป็นรูปธรรมในเรื่องการต่อต้านปัญหาค้ามนุษย์
*************************** 5 กันยายน 2556