“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 138 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (8 กันยายน 2556) ที่ชุมชนแขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.กทม. ลงพื้นที่รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อที่เกิดจากแมลงสาบและหนู โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง แจกชุดผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงได้แก่ ยาทากันยุง 500 ซอง สเปรย์ฉีดฆ่ายุง 400 กระป๋อง ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย 500 ซอง มุ้งชุบสารไพรีทรอยด์ 200 หลัง ไฟฉายส่องลูกน้ำ 500 กระบอก เอกสารความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออก 2,000 ชุด มอบชุดอุปกรณ์ดูแลความสะอาดในครัวเรือนได้แก่ น้ำยาล้างจาน เจลล้างมือ ยาฆ่าแมลงสาบ สารอีเอ็มกำจัดกลิ่นน้ำเน่าเสีย และเอกสารความรู้ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน
นายแพทย์ประดิษฐให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนไทยทุกคน ทุกวัย มีสุขภาพดี ลดปัญหาการเจ็บป่วย เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้ประเทศอย่างเต็มศักยภาพ การทำงานของกระทรวงสาธารณสุขจากนี้ไป จะเน้นการทำงานเชิงรุก ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพไม่ให้ป่วย ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ โดยปีนี้มีปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ระบาดต่อเนื่อง พบผู้ป่วยมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และในกทม. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในสัปดาห์นี้ทั่วประเทศพบ 6,372 ราย มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ต้องเร่งช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายต่อเนื่องทุก 5- 7 วัน ไม่ให้ไข่ยุงมีโอกาสโตเป็นตัวยุง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวดทั้งกลางวันและกลางคืน
สำหรับในเขตคลองเตย เป็นชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 6 กันยายน 2556 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 155 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 140 รายต่อแสนประชากร โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดที่แขวงคลองเตย ตลอดเดือนสิงหาคมพบผู้ป่วย 17 ราย มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่มีผู้เสียชีวิต จากการรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายที่ชุมชนแขวงคลองเตยล็อค 4, 5, 6 ในวันนี้ พบว่าเป็นชุมชนที่ประชาชนอยู่อาศัยประมาณ 3,000 คน ใน 100 หลังคาเรือน ตรวจพบลูกน้ำอยู่ในภาชนะเก็บน้ำในบ้านมากถึงร้อยละ 21 จะต้องเร่งดำเนินการสร้างสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนให้สะอาด ไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู และแมลงสาบ ซึ่งเป็นสัตว์ที่นำเชื้อโรคมาสู่คน
ทางด้านดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า แมลงสาบเป็นแมลงที่สามารถนำโรคมาสู่คนได้ เพราะแมลงสาบกินอาหารได้แทบทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ตั้งแต่อาหารที่สกปรก ของเน่าเสียตามกองขยะ จนถึงอาหารที่คนรับประทานด้วย โดยเชื้อโรคจะติดมาตามตัวหรืออยู่ภายในกระเพาะอาหาร เมื่อแมลงสาบกินหรือเดินผ่านอาหารก็จะสำรอก หรือไม่ก็ถ่ายมูลลงบนอาหารด้วย ทำให้ผู้รับประทานอาหารได้รับเชื้อ และป่วยได้ ในแมลงสาบมีเชื้อโรคมากถึง 40 ชนิดทั้งหนอนพยาธิต่างๆ เช่น พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวจี๊ด แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส รวมทั้งชิ้นส่วนต่างๆของแมลงสาบจะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือโรคภูมิแพ้ได้
การกำจัดแมลงสาบจะต้องรักษาความสะอาดบ้านเรือนเป็นประจำ กำจัดขยะมูลฝอยรวมทั้งเศษอาหารอย่างถูกวิธี ใช้ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำลายไข่แมลงสาบเมื่อพบเห็นโดยการนำไปเผาทิ้ง จะช่วยลดจำนวนแมลงสาบลงได้ 14 - 30 ตัว ส่วนหนูเป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์เร็ว ตั้งท้องประมาณ 19-21 วัน และออกลูกประมาณครอกละ 6-10 ตัว ไม่ว่าจะเป็นหนูป่า หนูบ้าน หรือหนูที่อาศัยตามท่อ สามารถแพร่เชื้อโรคฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิสได้ ดังนั้นจะต้องกำจัดขยะมูลฝอยและเศษอาหารให้ถูกวิธี โดยเก็บใส่ถุงดำผูกปากถุงให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านและครัวให้สะอาด ไม่ให้มีเศษหรือกลิ่นอาหารเหลืออยู่ วิธีการกำจัดหนูมีทั้งการใช้สารเคมีให้หนูกิน แต่ต้องระมัดระวังในการใช้ให้มาก และใช้กรงดัก กับดัก หรือกาวดักจับหนู ส่วนการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงอัลตร้าโซนิคไม่ได้ช่วยให้จำนวนหนูลดลง เป็นเพียงการไล่หนูให้หนีออกไปชั่วคราวเท่านั้น
************************************************ 8 กันยายน 2556