เขตสุขภาพภาคเหนือตอนบน 8จังหวัดจัดระบบการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่มีอาการวิกฤติเช่นคลอดก่อนกำหนดโดยเชื่อมโยงเครือข่ายการดูแลทั้งภายในจังหวัดและระดับเขตมีโรงพยาบาลนครพิงค์เป็นแม่ข่ายหลักและเพิ่มเตียงไอซียูเด็กในโรงพยาบาลชุมชนรวมกว่า 40เตียงสามารถลดอัตราการเสียชีวิตเด็กได้ผลดี 
 
          ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2557ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7รอบพระชนมพรรษาจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดเวทีการอภิปรายเรื่อง "การจัดบริการที่ดีกว่า (The Better service)" มีวิทยากรร่วมอภิปรายประกอบด้วยนายแพทย์ธงชัยเลิศวิไลรัตนพงศ์ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ธีรพลโตพันธานนท์ผู้ตรวจราชการกระทรวง ฯ เขต 12แพทย์หญิงปัฐมาลักษณ์เผือกผ่องโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่และแพทย์หญิงอังคณานาคอุบลโรงพยาบาลหลังสวนจังหวัดชุมพร
 
          นายแพทย์ธงชัยกล่าวว่าการปฏิรูปเขตสุขภาพเพื่อจัดบริการที่ดีกว่าของแต่ละพื้นที่นั้นจะมีความหลากหลายแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งจะกำกับโดยทีมบริหารเขตสุขภาพ โดยโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดจะต้องร่วมกันบริหารจัดการ เพื่อให้ปรากฏผลต่อผู้รับบริการตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 3เรื่องหลักคือ1.ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกรายได้พบหมอในโรงพยาบาลทุกระดับตลอด24ชั่วโมง ทั้งในและนอกเวลาราชการ2.เวลารอรับบริการไม่นานอาจมีการปฏิบัติแตกต่างกันเช่นเพิ่มเวลาให้บริการเพิ่มจุดให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน(รพช.) หรือจัดบริการร่วมในชุมชนเพื่อลดความแออัดที่ต้องไปรอตรวจในโรงพยาบาล และ3.อยู่ใกล้ไกลได้ยาเดียวกันเพื่อความมั่นคงของระบบยาโดยเฉพาะยารักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่นยาจิตเวชยาเบาหวานยาโรคความดันโลหิตสูง สามารถรับได้ที่รพช.หรือที่รพ.สต.โดยทุกแห่งจะใช้ยาตัวเดียวกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นประชาชนและจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การจัดซื้อยาร่วมกันในระดับเขตเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการให้ประชาชนได้รับยารักษาโรคที่มีคุณภาพดี 
 
          ด้านแพทย์หญิงปัฐมาลักษณ์เผือกผ่องแพทย์ประจำรพ.นครพิงค์จ.เชียงใหม่ได้นำเสนอเรื่องการจัดระบบการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีอาการวิกฤติในเขตสุขภาพที่ 1ภาคเหนือตอนบนซึ่งมี 8จังหวัดคือเชียงใหม่ลำพูนแม่ฮ่องสอนลำปางเชียงรายพะเยาแพร่และน่านมีรพ.ในเขต100แห่งรพ.สต. 1,096แห่งศูนย์สุขภาพชุมชน17แห่งและสำนักงานสาธารณสุขชุมชนที่ตั้งบนพื้นที่ป่าเขาห่างไกล129แห่งได้วางระบบการดูแลทารกแรกเกิดในภาวะวิกฤติที่มีอาการซับซ้อนเช่นเด็กคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทารกแรกเกิดอันดับ 1เพื่อการส่งต่อดำเนินการมาตั้งแต่ปี2549โดยมีรพ.นครพิงค์เป็นแม่ข่ายและรพ.แม่และเด็กจ.เชียงใหม่มาร่วมให้บริการกรณีที่มีอาการไม่หนักมากและสร้างมาตรฐานการดูแลระหว่างนำส่งรักษาต่อในพื้นที่ป่าเขาใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยมีศูนย์กลางประสานส่งต่อโรงพยาบาลในเขตบริการและเพิ่มเตียงไอซียูเด็กในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆอีก40เตียงเพิ่มความคล่องตัวตั้งแต่ต้นทางไปยังรพ.ที่จะรับผู้ป่วยโดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา
 
          ผลสำเร็จของการปฏิรูปเขตสุขภาพทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพิ่มศักยภาพให้โรงพยาบาลชุมชนในการดูแลเด็กเช่นเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือเด็กที่มีความผิดปกติระบบการหายใจได้ปีละ 500 กว่ารายลดการเสียชีวิตจากอัตรา 4.7ต่อ1,000คนเหลือ4.0ต่อ1,000คนในปี2557 ไม่ต้องส่งไปรักษาที่จังหวัดหรือเขตสุขภาพอื่นประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูแลของผู้ปกครองเด็กได้             
 
********************** 11 กันยายน 2557


   
   


View 11    11/09/2557   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ