กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจล่าสุด พบเด็กไทยอายุ 3-5 ขวบ มีพัฒนาการไม่สมวัยร้อยละ 30  เร่งแก้ไขตั้งแต่วัยเด็กเล็กจนถึงวัยรุ่น   บูรณาการร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการสร้างคุณภาพศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งผลวิจัยต่างประเทศพบว่ามีส่วนสำคัญทำให้พัฒนาการเด็กดี  และในปีนี้จะใช้ทีมหมอครอบครัวดูแลเด็กและเป็นที่พึ่งครอบครัวที่มีปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง   

วันนี้ (12 มกราคม 2558) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 12 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีระหว่างนักวิชาการด้านการแพทย์ สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ของบุคลากรเครือข่ายทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน กว่า 300 คน

นายแพทย์สมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก  มักจะพบปัญหาเด็กเสียชีวิตในเวลาอันไม่สมควร ที่เรียกว่าอัตราทารกตาย คือคลอดแล้วเสียชีวิตภายหลัง   ขณะนี้ทั่วโลกพบเด็กอายุต่ำกว่า  5 ขวบ เสียชีวิตปีละ ลดจาก 13 ล้านคนในปี 2533 เหลือจำนวน 6.3  ล้านคนในปี 2556   ซึ่งประเทศไทยได้ผ่านเรื่องนี้มากว่า 40 ปี สามารถแก้ปัญหาเรื่องเด็กเสียชีวิตในวัยทารกได้มาก เทียบได้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ปัญหาที่ไทยประสบขณะนี้และเป็นปัญหาใหญ่ คือพัฒนาการเด็ก    ผลการสำรวจพบว่าเด็กไทยโดยเฉลี่ยมีพัฒนาการยังไม่สมวัยประมาณ ร้อยละ30  ในภาพรวมถือว่าดีขึ้น  แต่เป็นการดีขึ้นที่ช้ามาก โดยพัฒนาการเด็กเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง อาทิ ไอคิว อีคิว อารมณ์ จิตสำนึก จริยธรรม คุณธรรม เป็นพื้นฐานที่ผสมผสานหลายอย่าง พัฒนาการเด็กจึงเป็นจุดหมายที่สำคัญ  อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของวัยรุ่น ต้องช่วยกันในเรื่องของการเลี้ยงดู การเรียนรู้ ซึ่งเชื่อมโยงกับเด็กปฐมวัยด้วย    ซึ่งจะต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กที่มีอยู่    โดยหลายประเทศมีผลวิจัยพบว่าถ้าดูแลเด็กอายุ 3-5 ปีได้ดี   ก็จะสามารถทำให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ  การวิจัยนี้พบว่าเด็กที่ไปอยู่ในศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพ  ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีได้

          นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในการดูแลเด็กจะมี ช่วงวัย  ช่วงวัยแรกอายุ 1-3 ปี เน้นเรื่องกากระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการ  โดยอาศัยโครงสร้างด้านระบบบริการสาธารณสุขและชุมชนท้องถิ่นมาช่วยกัน รวมทั้งครอบครัวด้วย  ช่วงวัยที่ 2 อายุ3-5 ปี เน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งท้องถิ่นจะเป็นหลัก พ่อแม่ครอบครัวก็จะมาร่วมด้วย และช่วงวัยที่ คือช่วงวัยรุ่น เป็นความร่วมมือช่วยกันหลายฝ่ายทั้งด้านสังคม มหาดไทย  เนื่องจากวัยนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ  ปัญหาต่างๆจะเข้ามามาก ทั้งความรุนแรง ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ อุบัติเหตุจราจรด้วย

          นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเชื่อมโยงการทำงานของทีมหมอครอบครัว เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข  โดยทำงานระหว่างทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรพ.สต.  ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เฉลี่ย แห่งละ 3-4 คน  โดยเฉลี่ยเจ้าหน้าที่ คนดูแลประชากร 1,500 คน ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน และมีทีมโรงพยาบาลชุมชนเข้าไปช่วยเสริม โดยจะสามารถทำให้เกิดการทำงานเชิงรุก  ถ้าพบปัญหาก็จะสามารถส่งตัวไปดูแลต่อ ได้อย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลเครือข่ายของหมอครอบครัว   ทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์และในโรงพยาบาลทั่วไป เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา มารับรู้ปัญหาที่พบในชุมชน สามารถพูดคุยดูแลวางแผนร่วมกัน การดูแลเชิงรุกมีมากขึ้น หากครอบครัวใดมีปัญหา เขาก็จะไม่ลังเลที่จะบอกเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ที่เป็นหมอครอบครัวเข้าไปดูแล ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นอย่างมีระบบ ประสิทธิภาพและครบวงจรมากขึ้น โดยทีมหมอครอบครัวจัดขึ้นเพื่อดูแลประชาชนทุกกลุ่มวัย ขณะนี้เริ่มจากการดูแลผู้สูงอายุก่อน โดยในปี 58 นี้ก็จะเริ่มลงไปที่เด็กด้วย 

*************************** 12  มกราคม 2558



   
   


View 14    12/01/2558   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ