“สธ. – ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดงาน "ท่องเที่ยวสุขภาพดี รวมพล 100 ร้าน มาตรฐานสาธารณสุข ล้านนา R1” ยกระดับเศรษฐกิจสุขภาพเมืองเหนือสู่การท่องเที่ยวสุขภาพระดับโลก
- สำนักสารนิเทศ
- 138 View
- อ่านต่อ
วันนี้ (17 มกราคม 2558) ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลอุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง อยู่ติดชายแดนไทย-เมียนมาร์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะการจัดบริการบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิจากผู้ปฏิบัติในพื้นที่ จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานบริการสาธารณสุขชุมชนกิ่วห้าง อ.อุ้มผาง ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขขนาดเล็ก ตั้งบนพื้นที่สูง ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่เป็นชาวเขา สามารถสื่อภาษาท้องถิ่นได้ และเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่กลอง เพื่อให้กำลังใจและรับฟังปัญหาอุปสรรคต่างๆในการจัดบริการ เนื่องจากอำเภออุ้มผางเป็นพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล การเดินทางยากลำบากมาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานต้องใช้กำลังใจอย่างเต็มที่
ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ กล่าวว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมจากนายแพทย์ วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง ในการจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชนของโรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งที่โรงพยาบาลแห่งนี้ มีบทบทพิเศษต่างจากพื้นที่อื่นๆในประเทศ เพราะอยู่ชายแดนติดประเทศเมียนม่าร์ อยู่ห่างจาก อ.แม่สอด มาก การเดินทางลำบาก นอกจากนี้ระบบบริการการสาธารณสุขในประเทศเมียนมาร์ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของมาตรฐาน เนื่องจากปัญหาความมั่นคงทางการเมือง ทำให้ประชาชนข้ามมารักษาที่สถานบริการในเขตรับผิดชอบของรพ.อุ้มผาง
สำหรับปัญหาในด้านของพื้นที่อำเภออุ้มผางขณะนี้ ประชาชนยังมีปัญหาเรื่องการสาธารณูปโภค ถนน น้ำ ไฟฟ้า ยังไม่พอเพียง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา เช่น มีโรคติดต่อที่ไม่ค่อยพบในพื้นที่อื่นแล้ว เช่น อหิวาตกโรค มาลาเรีย วัณโรค สครัปไทฟัส เป็นต้น ปัญหาการขาดสารอาหาร การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 25 ของหมู่บ้านอยู่ในป่าลึก ประชาชนคลอดบุตรที่บ้านและยังมีประชาชนจากประเทศเมียนมาร์ และคนในพื้นที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพ เนื่องจากยังไม่ได้รับการพิสูจน์สถานะ จึงยังไม่มีเลข 13 หลัก จำนวนมากเกือบครึ่งของประชากรที่มี ซึ่งโรงพยาบาลอุ้มผางได้จัดบริการดูแลประชาชนกลุ่มนี้ทามกลางข้อจำกัด ได้อย่างดียิ่งทุกวิถีทางทั้งเชิงรุก เชิงรับ เพื่อให้ให้บริการที่ดีที่สุดทั้งการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และได้ใช้สรรพกำลังช่วยเหลือตนเอง ทั้งเรื่องไฟฟ้า การจัดหาน้ำมันไบโอดีเซลออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และประยุกต์ใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่กลั่นจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว มาใช้พ่นฆ่ายุงลายเป็นต้น ซึ่งมีหน่วยงานเครือข่ายต่างๆจากภายนอกมาร่วมสนับสนุนด้วย
ประเด็นต่างๆที่กล่าวมา ถ้าเราดำเนินการต่อไปในลักษณะนี้ต่อไปเจ้าหน้าที่ทุกคนจะทำงานหนัก แต่ทรัพยากรการเงินจะไม่เพียงพอ จะต้องเร่งแก้ไข ทั้งมาตรการระยะสั้นเฉพาะหน้า เพื่อให้โรงพยาบาลมีสภาพคล่องทางการเงิน จัดบริการต่อไปได้ ส่วนมาตรการแก้ไขระยะยาวจะต้องทำอย่างเป็นระบบ วางแนวทาง 3 ประการ ประการแรก คือ การเร่งจัดการแก้ไขเรื่องที่โรงพยาบาลเผชิญอยู่ คือ ภาระค่าใช้จ่ายรองรับคนไทยไร้รัฐ ไร้สถานะ ไร้สิทธิ์ และการการเข้าถึงบริการสุขภาพ พบว่ายังมีช่องว่างในการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มคนไทยที่รอพิสูจน์สัญชาติ คนไร้รัฐ ได้เข้าสู่การขึ้นทะเบียน 13 หลักและเข้าสู่สิทธิประกันสุขภาพ จะเริ่มดำเนินการทันทีโดยประสานการทำงานกับกระทรวงมหาดไทยอย่างใกล้ชิด
ประการที่ 2 คือเรืองการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งมี 2 ส่วนคือ งบรายหัวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และจากกระทรวงสาธารณสุข โดยในส่วนของการจัดสรรงบรายหัวจะให้แยกพิจารณาในพื้นที่ที่ห่างไกล หรือมีบริบทพิเศษ เพื่อจัดสรรงบให้เหมาะสม ไม่ใช้สูตรเดียวกับโรงพยาบาลอื่นๆในพื้นที่ปกติ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้เผชิญทั้งจำนวนประชากรมีน้อย มีพื้นที่ทุรกันดาร และมีภารกิจพิเศษต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การดูแลผู้ป่วยไร้รัฐ ไร้สัญชาติ คนต่างด้าว ตลอดจนการบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งจะเริ่มงบประมาณ 2559 ช่วงขาขึ้นเป็นต้นไป รวมทั้งเพิ่มการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีทั้งงบลงทุน งบด้านอื่นๆ เพื่อเสริมให้โรงพยาบาลที่มีบริบทคล้ายกับโรงพยาบาลอุ้มผางด้วย
ประการที่ 3 จะใช้กลยุทธ์อื่นควบคู่ไปด้วย เช่น ในแถบชายแดนที่รับภาระดูแลผู้ป่วยต่างชาติ เช่น เมียนมาร์ ซึ่งในเชิงมนุษยธรรมจะมีองค์การต่างประเทศที่พร้อมจะให้การช่วยเหลืออยู่แล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นแกนกลางประสานแนวทางเพื่อขอรับการสนับสนุนให้ช่วยประเทศเพื่อนบ้านด้วย รวมทั้งงบแหล่งอื่น เช่น จากกระทรวงการต่างประเทศ องค์การไจก้า จะหารือกันขึ้นต่อไป หรือหาแหล่งจากประชาสังคมอื่นมาช่วยกันหลายๆทาง มั่นใจว่าในระยะยาวน่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้และทำให้โรงพยาบาลอุ้มผางและโรงพยาบาลชายแดนอื่นๆ ให้สามารถดำเนินการจัดบริการต่อไปได้ ตามศักยภาพที่มีอยู่ ซึ่งถือว่าที่โรงพยาบาลอุ้มผางได้สร้างศักยภาพที่ดีเยี่ยมเรื่อยมา เป็นที่น่าชื่นชม
ทั้งนี้ อ.อุ้มผางมีประชากร ทั้งหมด 67,638 คน มีประชาชนที่มีสิทธิ์ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 28,518 คน ที่เหลืออีก 39,120 คน ไม่มีสิทธ์ เนื่องจากมี่บัตรประจำตัว 13 หลัก ต่อปีมีผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก 66,000 – 75,000 ครั้ง โดยร้อยละ 58 ของผู้ป่วยใน และร้อยละ 33 ของผู้ป่วยนอกรพ.อุ้มผาง เป็นคนกลุ่มไร้สิทธิ์ ค่าใช้จ่ายสังคมสงเคราะห์ของรพ.อุ้มผาง 3 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 28 ล้านบาท ทำให้สถานะทางการเงินบำรุงของโรงพยาบาลอยู่ในระดับวิกฤติ ขณะนี้ติดลบ 5 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลได้ลงทุนพัฒนาคุณภาพบริการดูแลรักษาผู้ป่วยให้สูงขึ้น เนื่องจากความจำเป็นเพราะเป็นพื้นที่ที่การคมนาคมยากลำบาก บางพื้นที่ต้องเดินทางใช้เวลาตั้งแต่ 8-22 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อรักษาชีวิตและเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกคน เช่น การจัดหอดูแลผู้ป่วยหนัก มีเตียงไอซียู เด็กและผู้ใหญ่ 7 เตียง และมีหน่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 เครื่อง มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังรังสุดท้ายฟอกไตประจำ 7 ราย และมีธนาคารเลือดใช้ทำผ่าตัดได้ทั้งการผ่าครรภ์คลอด ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งใช้เลือดเดือนละประมาณ 150 ถุง
******************************** 17 มกราคม 2558