กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจไอคิว-อีคิว เด็ก ป.1ล่าสุดในปี 2557 พบอีคิวปกติ แต่ไอคิวเด็กชนบทต่ำกว่าเด็กในเมืองสาเหตุขาดความอบอุ่นในครอบครัว หนุนพ่อ-แม่-ผู้ปกครอง-ผู้ดูแลเด็ก ช่วยกระตุ้นเพิ่มไอคิว-อีคิว ด้วยวิธีง่ายๆ คือ“กิน กอด เล่นเล่า ลดดูทีวี ลดเล่นเกม”
วันนี้ (27 พฤษภาคม 2558) ที่ กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจระดับสติปัญญาหรือไอคิว(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว (EQ) ของเด็กไทยวัยประถมศึกษาปีที่ 1 ปี พ.ศ.2557 จำนวน 4,929 คน ทุกภาคทั่วประเทศ พบไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 93.1 จุด ลดลงจากปี 2554 ที่มีอยู่ 94 จุด ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานโลกที่กำหนดเฉลี่ยอยู่ที่ 100 จุด โดยเด็กในเมืองมีค่าเฉลี่ยไอคิวสูงกว่าเด็กในชนบท ส่วนอีคิวอยู่ระดับปกติทั้งเขตเมืองและชนบท
ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ กล่าวว่า ไอคิวของเด็กมีความสำคัญต่อระดับสติปัญญาการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งมาจากความอบอุ่นในครอบครัว และทักษะวิธีการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาที่แตกต่างกัน เช่น ความพอเพียงของอาหารที่บำรุงร่างกาย ของเล่นที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ ในชนบทอาจจะมีน้อยกว่าในเขตเมือง ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จะเร่งสร้างเด็กไทยให้มีความสมบูรณ์ทั้งระดับสติปัญญาดีและสังคมดีควบคู่กัน โดยมีโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีอาสาสมัครสาธารณสุข-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยง คือ เด็กมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ เด็กขาดออกซิเจนระหว่างคลอด และเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงด้านสังคม โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เป็นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึงอายุ 5 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยเรียน
สำหรับยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพไอคิวและอีคิวเด็ก 3 ประเด็น คือ 1.ความร่วมมือส่งเสริมพัฒนาการเด็กระหว่างสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับกับศูนย์เด็กเล็ก ในพื้นที่ทุกสังกัด 2.ส่งเสริมให้ทุกครอบครัวและศูนย์เด็กเล็ก เลี้ยงดูเน้น “กิน กอด เล่น เล่า ลดดูทีวี ลดเล่นเกม” สร้างความใกล้ชิด ผูกพันระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดู ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กและเห็นความผิดปกติของเด็กได้เร็วขึ้น ให้เด็กกินอาหารตามวัย ถูกหลักโภชนาการ การกอดเด็กจะได้รับความอบอุ่น รับรู้ถึงความรัก การเล่นเป็นการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัยส่วนการเล่านิทานจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ เป็นการฝึกการทำงานประสาทเซลล์สมอง 3.เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลพัฒนาการเด็กแบบง่ายๆ
ทางด้านนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องของกรมสุขภาพจิตตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา พบว่า พบสถานการณ์ที่ส่งผลต่อระดับไอคิวของเด็ก ที่สำคัญมี 3 รูปแบบ คือ แบบที่ 1เด็กมีโอกาสอยู่กั&
View 16
27/05/2558
ข่าวเพื่อมวลชน
สำนักสารนิเทศ