กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์โรงพยาบาลทั่วประเทศสร้าง 4 มาตรการจัดการระบบการบริหารจัดการด้านยา พัฒนาระบบยาเพื่อใหเกิดความปลอดภัยและเปนหลักประกันในการใหบริการดานยาแกผูปวย ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้ยาทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ขณะนี้ที่ยุโรปมีรายงนผู้ป่วยเสีชีวิตจากการแพ้ยาปีละ 44000 -98000 ราย ทำให้ค่ารักษาพุ่งรายละเกือบ 2 แสนบาท วันนี้(20 สิงหาคม 2550)ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุม หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 1,000 คน เพื่อชี้แจงมาตรการความปลอดภัยด้านยาและเป็นหลักประกันในการให้บริการด้านยาแก่ผู้ป่วย นายแพทย์วัลลภ กล่าวว่า ในปี 2550 -2551 นี้ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนามาตรการความปลอดภัยจากการใช้ยาของผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันอาการไม่พึ่งประสงค์จากการใช้ยาทุกชนิด โดยเฉพาะการแพ้ยาจนเกิดการเสียชีวิต หรือทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงถึงขั้นพิการได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่เจ็บป่วยมีความมั่นใจในระบบความปลอดภัยจาการใช้ยาของบุคลากรทางการแพทย์เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการติดตามปัญหาจากการใช้ยาทั่วโลก ในปี 2547 พบผูปวยร้อยละ 10 ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในประเทศแถบยุโรป มีปัญหาการแพ้ยาและเสียชีวิตปีละ 44,000 – 98,000 ราย ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพบได้ ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยที่เขารักษาในโรงพยาบาล ที่ออสเตรียเลียพบได้ร้อยละ 16 สงผลให้ผู้ป่วยตองนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น มีคาใช้จายในการรักษาเพิ่มขึ้นรายละ 4,700 ดอลล่าร์สหรัฐหรือ รายละประมาณ 164,500 บาท ส่วนประเทศไทย จากการติดตามปัญหาการใช้ยาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศในปี 2547 พบผู้ป่วยมีปัญหาแพ้ยาร้อยละ 9 ทำให้พิการร้อยละ 23 และเสียชีวิตร้อยละ 11 นายแพทย์วัลลภ กล่าวต่อว่า สาเหตุสําคัญที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เกิดมาจากความผิดพลาดในการใช้ยา โดยเฉพาะชื่อยาที่เขียนหรืออ่านใกล้เคียงกัน และเกิดมาจากยาที่มีต้องใช้ความระมัดระวังสูง องค์การอนามัยโลกจึงได้เรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งสร้างมาตรฐานความปลอดภัยจาการใช้ยากับผู้ป่วย ภายใต้คำขวัญ“ยาปลอดภัย ผูปวยปลอดภัย (Medication Safety for Patient Safety)” โดยไดมีการกําหนดกิจกรรมปฏิบัติดาน ตางๆ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเภสัชกร ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จ่ายยา ทั้งนี้ตั้งแต่ ปี 2550 -2551 กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงคใหโรงพยาบาลตางๆ ทั้งรัฐและเอกชน ได้จัดระบบการบริหารจัดการด้านยาให้รัดกุม โดยให้ยึด 6 มาตรการหลักได้แก่ 1.จัดระบบตรวจทานยาก่อนจ่ายทั้งชื่อยาและคำสะกดชื่อ 2. หลีกเลี่ยงการรับคำสั่งด้วยปากเปล่า 3.ให้อ่าน ตรวจทานชื่อยา และการสั่งใช้ทุกครั้งให้ตรงกับผู้ป่วย 4.ให้เข้มงวดการพิจาณายาตัวใหม่ที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาล 5 .ให้พัฒนาระบบการรวบรวมและจัดทำคู่มือ กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยา และเหตุการณ์พึงสังวร จากการใช้ยา และ 6 ให้มีเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารด้านยาโดยตรง ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลมีระบบเตือนภัยและการป้องกันอย่างรวดเร็ว ด้านนายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยด้านยาของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะให้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการได้แก่ การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด โดย 1.ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบการจ่ายยา กรณีผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยา 2.จัดหาวิธีค้นหาความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น เช่นตรวจทานยาทั้งชนิด ขนาด ที่จะจ่ายให้ผู้ป่วยโดยเภสัชกร 3.จัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายจากอาการไม่พึงประสงค์จากยาต่างๆ เช่นการเตรียมยาแก้พิษ แก้แพ้ ให้พร้อมต่อการใช้หากมีผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาอย่างทันทันใด .................................... 20 สิงหาคม 2550


   
   


View 10    20/08/2550   ข่าวเพื่อมวลชน    สำนักสารนิเทศ